อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ ( หลวงปู่ทวี จิตตคุตโต ) อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ ) ตอนที่ 1

อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ ( หลวงปู่ทวี จิตตคุตโต ) เจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ( ธรรมยุต ) บ.ป่าลัน ต.ปงน้อง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ )

อัตชีวประวัติโดยย่อของ หลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต   เมื่อครั้งท่านอยู่กับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ได้นำเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (ร.๙) และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศภูมิ ราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดชสยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตรพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๑๐) ครั้งยังเป็นทรงพระนามเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

หลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต ท่านคอยปฎิบัติวัตรฐาก หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ขณะอาพาธหนักครั้งเมื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ 

พระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดอีสานที่วัดป่าบ้านสูบ จ.เลย (พ.ศ.๒๕๖๐) 

วางผังเริ่มองค์ปฐม ชาวบ้านมาช่วยแรงงานก่อสร้างบรรจุพระธาตุลงในเจดีย์บริวารทั้ง ๘ องค์ (พ.ศ.๒๕๖๐)

การเตรียมงานบรรจุพระธาตุในเจดีย์บริวาร งานยกฉัตรทองขึ้นประดิษฐานบนเจดีย์ประธาน (๙ มกราคม ๒๕๖๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย (นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม) มาร่วมพิธี

พระมหาเจดีย์ ๙ มงคล เหนือสุดอีสาน (ภาพมุมสูง – กันยายน ๒๕๖๒) การก่อสร้างใกล้สมบูรณ์ ในระยะเวลาอันสั้นเป็นความปลาบปลื้มของหลวงพ่อทวี จิตฺคุตฺโต ซึ่งมาจากความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ ของชาวบ้านในชุมชนกับศิษย์หลวงพ่อที่ศรัทธาสมทบปัจจัยอย่างต่อเนื่อง

พระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดอีสาน ความงดงามในช่วงกาลเวลาต่างกัน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๖๒) ณ วัดป่าบ้านสูบ(ธ) ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลยพระสงฆ์และชาวบ้านชุมชนน้ำสวย ร่วมแรงร่วมใจประกอบงานบุญ ตกแต่งองค์พระมหาธาตุเจดีย์

เรารักตัวเรา

เราสงสารตัวของเรา

เราต้องทำดีใส่ตัวของเรา

โอวาทธรรม ของหลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต วัดป่าอรัญญวิเวก บ.ป่าลัน ต.ปงน้อง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

คำปรารภ  หนังสืออัตชีวประวัติ  หลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต ฉบับนี้เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นธรรมทาน ที่ระลึกในงานฉลอง “ พระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดอีสาน ”  ที่วัดป่าบ้านสูบ( ธ ) จ.เลย  เนื้อเรื่องภายในเล่มส่วนใหญ่คงเดิมจากการ  พิมพ์ครั้งที่   ๑๑  และฉบับที่เคยพิมพ์มา และได้เพียงปรับปรุงเพิ่มเติมภาพ  เนื้อหาที่เป็นปัจจุบัน  ประวัติย่อการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์   ๙  มงคลเหนือสุดอีสาน  และ โอวาทธรรมของ หลวงปู่ทวี  ลงในเล่มนี้ และในระบบเว็บไซต์ข่าวแม่สายนิวส์ออนไลน์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยที่การจัดพิมพ์ครั้งใหม่นี้  ทางเจ้าภาพผู้จัดทำมีความศรัทธา และ ซาบซึ้งในคำสอนของหลวงพ่อทวี  จิตฺตคุตฺโต จึงขอรับมาจัดทำรูปเล่มใหม่ให้ต่อเนื่อง  จากคราวที่เดินทางไปทำหน้าที่ประธานงานกฐินสามัคคีปี ๒๕๖๐ ณ วัดป่าอรัญญวิเวก  จ.เชียงราย ซึ่งท่านอนุญาตด้วยวาจาให้เจ้าภาพนำเรื่องเล่าชีวประวัติ  ที่คุณบัญชา  ทิพย์อักษร  บันทึกเนื้อหาไว้  และหลวงพ่อทวีได้ฟังจากการอ่านทบทวนถึงสามครั้ง  ก่อนจัดพิมพ์เผยแผ่ฉบับแรก  เมื่อ ปี  พ.ศ.๒๕๔๗ ไปดำเนินการปรับรูปเล่ม  พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ขึ้นและเผยแผ่เป็นธรรมทานได้ตามอัธยาศัย เจ้าภาพตระหนักในความมีเมตตาจิตที่หลวงพ่อทวี  จิตฺตคุตฺโต ใส่ใจต่อสายตาของลูกศิษย์ชาวบ้านป่าลัน และ ชุมชนน้ำสวย อายุสูงวัยส่วนใหญ่  จึงพยายามจัดเรียบเรียงเนื้อหาส่วนของอัตชีวประวัติหลวงพ่อ   แยกหัวข้อให้อ่านได้ง่ายขึ้นประการหนึ่ง    สำหรับการระบุคำนำพระนาม   พระอิสริยยศพระมหากษัตริย์  และเจ้านายหลวงทุกพระองค์ที่ปรากฏในเล่ม คงตามเนื้อหาฉบับเดิมๆ  นั้น  หมายถึงพระนามและพระยศ มาจากรัชสมัยขณะนั้น เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ในรัชกาลที่  ๙  ในรัชกาลที่  ๑๐ 

ในวาระนี้  เจ้าภาพทั้งสองใคร่อธิษฐานกุศลจิตในอานิสงส์แห่งธรรมทานครั้งนี้  ส่งผลอันเป็นบารมีทางการเจริญกรรมฐานทั้งทางโลกและทางธรรมภาวนา  แก่ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย  อันจะนำไปสู่ฝั่งแห่งอรหัตมรรค  อรหัตผล  และพระนิพพานในที่สุดหากภาพ  ชื่อบุคคล  หรือเนื้อหาข้อความใดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงโดยเจ้าภาพมิได้เจตนา เจ้าภาพขอกราบขมากรรมต่อครูบาอาจารย์ทุกองค์  รวมทั้งท่านที่มิได้กล่าวนามไว้ให้ครบถ้วน   ขอกราบคารวะในความเมตตาของหลวงพ่อทวี  จิตฺตคุตฺโต  พระอาจารย์ทองใบ  สุวัณธโร ตลอดทั้งพระครูบา ทุกองค์ผู้ถ่ายทอดปฎิปทาอันงดงามหมดจด  เจ้าภาพรู้สึกสำนึกในการทุ่มเทประกอบกิจเพื่อพระพุทธศาสนาของหลวงพ่อทวี  และพระภาพขออุทิศแก่ครูบาอาจารย์ทุกท่าน  บุพการี  ญาติธรรม  และ กัลยาณมิตร ผู้ที่อนุโมทนาบุญ และเปิดประตูใจรับไว้  ด้วยความปิติยินดียิ่ง

โดยคุณศรีสมร กสิวัฒน์-อุดม โหราเรือง ๕ ธันวาคม ๒๕๖๒

                                                         สารบัญ

หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต กับพระมหาธาตุเจดีย์ ๙  มงคลเหนือสุดอีสาน  ๑

อัตชีวประวัติของหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต                หน้าที่ ๑๐

พรรษาที่ ๑ ( พ.ศ.๒๕๐๕ ) – พรรษาที่                  หน้าที่  ๗

    ( พ.ศ. ๒๕๑๑ )                                        หน้าที่  ๒๖

สู่ดอยแม่ปั๋ง พรรษาที่                             หน้าที่ ๘-๒๕

    ( พ.ศ.๒๕๑๒-พ.ศ.๒๕๖๘ )                           หน้าที่  ๖๐

วัดป่าอรัญญวิเวก ( ป่าลัน ) พรรษาที่                หน้าที่ ๒๖-๕๙

     (พ.ศ.๒๕๒๙-พ.ศ.๒๕๖๒)                          หน้าที่ ๙๖

ธรรมโอวาท                                              หน้าที่ ๙๙

ธรรมเทศนา หลวงพ่อเทวี จิตฺตคุตฺโต                หน้าที่ ๑๒๓

ศึกษาเพิ่มเติม   :http://www.facebook.com/ Watpalan

หรือ ชื่อเฟสบุ๊ค :วัดป่าอรัญญวิเวก หลวงพ่อทวี

:http://sites.google.com/site/watpalan54/

อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ หลวงปู่ทวี  จิตฺตคุตฺโต  วัดป่าอรัญญวิเวก  หมู่ ๕ บ้านป่าลัน ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

ในการพิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทาน ห้ามจำหน่าย  หนังสือเรื่อง อัตชีวประวัติ หลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต

ผู้เขียนและเทศนาธรรม  หลวงพ่อทวี   จิตฺตคุตฺโต

บรรณาธิการอำนวยการ                   ศรีสมร  กสิวัฒน์

ปกและรูปเล่ม                                ศรีสมร  กสิวัฒน์

ผู้ตรวจอักษร                              กรุณา อินทร์พันธ์

(พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๔๗)  

พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๒)       จำนวนที่พิมพ์ ๒,๕๐๐ เล่ม

พิมพ์ที่  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๖๔ การพิมพ์  ๑๑๖ ซอยพระยามนธาตุฯ แยก ๓๕-๓ แขวนบางบอน เขตบางบอน กทม. โทร. ๐๒-๔๑๗-๗๓๑๐ผู้มีศรัทธา มีความประสงค์ ต้องการรับหนังสือ อัตชีวประวัติหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ วัดป่าอรัญญวิเวก หมู่ ๕ บ้านป่าลัน ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ขอสงวนสิทธิ์ห้ามบุคคลใดนำโครงเรื่องหรือข้อความในหนังสือเล่มนี้ไปพิมพ์เผยแพร่เพื่อการค้าโดยเด็ดขาดแต่ถ้าคัดลอกหรือนำไปพิมพ์เผยแพร่แจกจ่ายแก่ผู้ปฎิบัติธรรมสมควรในธรรม คณะผู้จัดพิมพ์ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยในบุญกุศลครั้งนี้

หลวงปู่ทวี  จิตฺตคุตฺโต กับ พระมหาธาตุเจดีย์  ๙  มงคลเหนือสุดอีสาน

ความเป็นมาของการสร้างพระมหาเจดีย์ หลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต เจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก บ้านป่าลัน ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ในช่วงพรรษาที่  ๕๕  ดำริเริ่มต้นที่จะสร้างพระมหาธาตุเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุขึ้น  ณ วัดป่าบ้านสูบ ต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย ซึ่งขณะนั้นมีพระอาจารย์ทองใบ สุวัณธโร รักษาการเจ้าอาวาสอยู่ และวัดป่าบ้านสูบแห่งนี้ นับว่าเป็นวัดเก่าที่มีพระอริยสงฆ์ครูบาอาจารย์หลายองค์ในสายหลวงปูคำดี รวมทั้งหลวงพ่อทวี โดยมาพักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสมัยก่อน ประกอบกับที่ตั้งวัดไม่ไกลจากบ้านกำเนิดของศิษย์ ลูก หลาน ญาติพี่น้องของหลวงพ่อทวี เมื่อท่านดำริที่จะสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เพื่อเป็นที่เก็บบรรดาพระธาตุที่เสด็จมาเองให้เป็นที่สักการะขึ้นในแผ่นดินอีสานแห่งนี้ จึงได้ปรารภไปยังลูกศิษย์ ผู้มีจิตศรัทธาจากกรุงเทพมหานคร เชียงราย เลยและกระจายสู่พุทธศาสนิกชนชาวไทย

๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นมงคลฤกษ์

 การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดอีสานเริ่มดำเนินการด้วยความเป็นมงคลนับแต่ปลายเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ หลวงพ่อทวีรับฎีกานิมนต์เดินทางจากเชียงรายมาร่วมงานฉลองอายุวัฒนะ ของพระอาจารย์หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ที่วัดศรีอภัยวัน จ.เลย ต่อมาวันที่๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หลวงพ่อทวี เดินทางมาพักที่วัดป่าบ้านสูบ จังหวัดเลย และปรารภเรื่องนิมิตที่จะสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระธาตุ ที่วัดป่าแห่งนี้ ในขณะนั้นคุณคมกฤช ศรีดันและภรรยา ทราบข่าว ได้ติดต่อขอพบหลวงพ่อเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับที่ดินสวนยางด้านทิศตะวันตก ทวีเฉียงเหนือที่มีอาณาบริเวณติดกับวัดป่าบ้านสูบ จำนวน ๓ ไร่ หลังจาก คุณคมกฤช ศรีดัน ( ตำแหน่งปัจจุบันอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีศาลสูง ๑ ภาค ๔ ) และ คุณวรรณวิไล ศรีดัน (สกุลเดิม บุรินทร์กุล) ศรัทธาในปฏิปทาท่าน ได้ทราบวัตถุประสงค์ของหลวงพ่อทวีและ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ตรงกับวันฉัตรมงคลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)จึงตัดสินใจทันทีขอเป็นเจ้าภาพถวายที่ดินโฉนดที่ดิน๖๑๓๓๗ เลขที่ดิน ๒๒๙ ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ซึ่งปลูกตันไม่ไว้เป็นสวนยางบางส่วน ที่ดิน แปลงนี้มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๙๕ ตารางวา เป็นมรดกจาก

บิดาคือ นายลพ ศรีดัน ( อดีตครูประถมโรงเรียนบ้านสูบ ) ประกอบกับท่านเคยได้ปฏิบัติดูแลหลวงปู่แหวนเป็นอย่างดี เมื่อทราบปฏิปทาของหลวงพ่อทวี จึงเกิดความซาบซึ้งและปิติที่จะมอบที่ดินเพื่อประโยชน์ทางพุทธสถาน ในเวลาต่อมาตรงกับวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ได้ทำพิธีมอบโฉนดที่ดินให้แก่หลวงพ่อทวี โดยมีพระอาจารย์ทองใบ สุวัณธโร เก็บรักษาโฉนดฉบับดังกล่าวไว้ และปัจจุบัน ได้โอนที่ดินนี้เป็นที่เรียบร้อย โดยขณะนั้นทางเจ้าภาพได้รวบรวมทุนปัจจัยตั้งต้นบริจาคไว้จำนวนหนึ่งประมาณ หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท เจ้าภาพผู้บริจาคเริ่มต้นประกอบด้วยครอบครัวตระกูล บุรินทร์กุล คุณอรอณินทร์ บุษรากุลและครอบครัว อัยการคมกฤช ศรีดันและครอบครัว พยาบาลรามาฯ รุ่น ๑๐ และเพื่อนจังหวัดเลยย้อนไปในวันฉัตรมงคลปี ๒๕๕๙ นางศรีสมร กสิวัฒน์ และนายอุดม โหราเรือง ซึ่งขณะนั้นขอเดินทางติดตามหลวงพ่อทวีไปที่จังหวัดเลย ได้ทราบเรื่องจึงขอตั้งต้นทุนในครั้งนี้ด้วยปัจจัยจำนวนหนึ่ง ถวายไว้ให้แก่หลวงพ่อทวี ซึ่งท่านได้มอบทุนตั้งตันไว้ให้กับพระอาจารย์ทองใบ พร้อมทั้งท่านได้เข้าสำรวจพื้นที่ข้างเคียงสวนยาง ณ เวลานั้นเป็นป่าเต็งรังขนาดเล็กๆ ท่านนำญาติธรรมรวมทั้งลูกหลาน ศิษย์วัดป่าลัน เขียงราย และศิษย์ลายเมืองเลย หมู่ ๑ ถึง หมู่ ๑๐ ผลัดพากันเข้ามาอุทิศแรงงาน  และนำรถแม็คโฮมาช่วยกันปรับพื้นที่หน้าดินจนแข็งแรงแน่นหนา ศิษย์ฝ่ายชายบริจาคแรงงาน ฝ่ายหญิงลงขันกันเป็นค่าอาหาร การจัดการ ใช้เวลาตลอดสัปดาห์ ทั้งๆที่อากาศช่วงฤดูนั้นร้อนจัด แต่หลวงพ่อท่านมาคอยนั่งส่งพิจารณาแผ่ พลังให้คำแนะนำและนอนพักที่กุฏิใกล้ ๆเมตตาธรรมถึงเหล่าพระและศิษย์โดยไม่ทอดทิ้งกันเป็นเวลาตลอด ๓ วัน หลังจากนั้นหลวงพ่อทวีสั่งให้ทิ้งพื้นที่ดินไว้ให้ปรับสภาพแน่นตามธรรมชาติเป็นเวลาเกือบปี 

 ฤกษ์เบิกดิน (๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐)

  การปรับดินให้แน่นจากธรรมชาติ ฝน แสงแดดต้องใช้ระยะเวลานาน จนหลวงพ่อทวีแน่ใจด้วยวิจารณญาณว่าทำให้ดินลูกรังอัดแน่นไปทีละเล็กละน้อยซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ท่านสั่งสมบารมีมาก่อน อีกทั้งหลวงพ่อทวีได้ซึมซับการก่อสร้างอาคาร อุโบสถ และพระเจดีย์ มาตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ท่านจึงเป็นปราชญ์ผู้รู้งานวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงสามารถถ่ายทอดการก่อสร้างด้วยมโนภาพ ญาณทัศนะและมีกระบวนการที่น่ามหัศจรรย์ใจยิ่งนักการเบิกดินท่านเมตตากำหนดพิธีวางศิลาฤกษ์ให้พระสงฆ์และฆราวาส (ซาวบ้าน) มาร่วมกันทำพิธีเบิกดินตามที่หลวงพ่อทวีได้เดินทางล่วงหน้าไปดำเนินการตีผัง ไว้ ก่อนวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา วาระนี้มีผู้ทำพิธีเบิกดิน ๔ ท่าน ประกอบด้วย. อัยการคมกฤช ศรีดัน ๒. พลเอก นายแพทย์ชายชาญ ตาตะนันทน์ ๓. ดร.จุรี ตาปนานนท์ และ. นางศรีสมร กสิวัฒน์ พร้อมทั้งกำหนดผู้ปลูกต้นโพธิ์๔ ทิศ ได้แก่ ๑. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ คุณวรรณวิไล ศรีดัน และชาวบ้านเมืองเลย ๒. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวบ้านจากวัดป่าลันและผู้ศรัทธาจากจังหวัดเชียงราย  ๓.ทิศตะวันตกเฉียงใต้ คุณประเกียรณ์ศรี โพธิทัตและคณะ  ๔. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คุณอุดม โหราเรื่องและชาวบ้านที่ศรัทธามาร่วมงาน  ต่อมาทางฝ่ายคณะสงฆ์ที่วัดป่าบ้านสูบ ได้ระดมสรรพกำลัง และปัจจัยมาร่วมสร้างพระมหาเจดีย์ต้นแบบที่สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดสยาม จากของวัดป่าอรัญญวิเวก จ. เชียงราย อีกทั้งขยายองค์เจดีย์รอบ ๆทั้งแปดองค์ออกไป พร้อมมอบให้ หจก. ส. บุรินทร์การช่าง (คุณสุเครื่อง บุรินทร์กุล) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงร่วมกันบริจาคหิน ปูน ทราย จนเกิดความสำเร็จเป็นอย่างดีในระยะแรก ๆ ของการก่อสร้างหลวงพ่อทวีได้เมตตาให้บอกบุญมายังศิษย์ทุกทิศทุกจังหวัดระดมปัจจัยจัดหาอิฐแดงเผาก้อนใหญ่พิเศษและก้อนเล็กในการประกอบพระเจดีย์ทรงระฆังซึ่งเป็นองค์ประธานต้องใช้อิฐจำนวนมาก เบื้องต้นนับเป็น ๓ ถึง๔๐๐,๐๐๐ ก้อน จากแหล่งจังหวัดที่ติดต่อไว้ และต่อมาได้ทยอยปั้น ตาก เผา จัดส่งและทางวัดป่าบ้านสูบนำมาก่อเรียงขึ้นเป็นชั้น ๆ ทรงระฆังที่สวยงาม แรงานช่างที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้างสำคัญมาจากพระสงฆ์วัดป่าและชาวบ้าน นำโดย หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต กับ พระอาจารย์ทองใบ สุวัณธโร

  งบประมาณในการก่อสร้าง

ปัจจัยที่ได้รับบริจาคทั้งหมดผ่านทางหลวงพ่อทวีและจากศิษยานุศิษย์ทางสายเมืองเลย เชียงราย กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เป็นหลักส่วนยอดเงินบริจาคที่มาจากงานกฐินสามัคคี แบ่งรายละเอียดได้ดังนี้ ปี พ.ศ.๒๔๕๙ (๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) เป็น จำนวนเงิน ๒,๗๐๒,๙๐๗ บาท ประธานฝ่ายสงฆ์ จำนวนเงินหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต ประธานฝ่ายฆราวาส พลเอก นายแพทย์ชายชาญ ตาตะนันทน์ ปี พ.ศ.๒๕๖๐ (๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐) เป็นจำนวนเงิน ๑,๕๕๓,๒๙๐ บาท  ปี พ.ศ.๒๕๖๑ (๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) เป็นจำนวนเงิน ๑,๑๐๕,๓๓๙ บาท ประธานฝ่ายสงฆ์พระครูพิมล ศิลาจาร-เจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำเสือ จังหวัดลพบุรีพ.ศ. ปัจจัยจากการร่วมบุญสร้างเจดีย์ถึงปลายปี๒๕๖   และการก่อสร้างที่ไม่หยุดพักงาน ทำให้แล้วเสร็จไปประมาณ ๕0 % ด้วยงบที่มาจากการทำบุญทอดกฐินสามัคคี และยอปลีกย่อยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถรวบรวมมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ มีเรื่องพิเศษเพิ่มขึ้น ในวันทอดกฐิน ปี ๒๕๖๐ คือตอนบ่าย หลวงพ่อทวีได้กำหนดให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ของสาวกที่เสด็จลงมาเองไปบรรจุภายในพระเจดีย์ทรงระฆังทั้ง ๙ องค์เสร็จในวันเดียว หลังบรรจุพระธาตุเสร็จ บ่ายวันนั้นพระพิรุณได้หลั่งน้ำพุทธมนต์โปรยปรายลงมาทำให้เกิดความชุ่มเย็นกาย ปลื้มปิติโดยทั่วถ้วน  ในเวลาต่อมาดาบตำรวจ ศรีลา บุญกุลนะ และครอบครัว ประกอบด้วย นางแสงดา นางแสงเดือนบุญกุลนะ และ นายเกรียงไกร คำมา จากจังหวัดเชียงรายร่วมเป็นเจ้าภาพ ขอถวายฉัตรทองคำ ประดิษฐานบนยอดองค์เจดีย์ประธาน หลวงพ่อทวีกำหนดให้ทำพิธีอัญเชิญยอดฉัตรทองคำขึ้นยอดเจดีย์องค์ประธาน ในวันอังคารที่๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๒ เวลา ๑๔.๐๙ น. และเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดเลย  (นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม) มาเป็นประธานฝ่ายฆราวาสทำให้การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ครั้งนี้สำเร็จลงอีกขั้นตอนหนึ่ง นับเป็นมหาบารมีทานในการสร้างวิหาร เพื่อธำรงพระพุทธศาสนาให้สถิตสถาพรตลอดไปปัจจัยบริจาคและการก่อสร้างยอดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างองค์พระมหาธาตุเจดีย์เท่าที่วัดป่าบ้านสูบจังหวัดเลยรวบรวมไว้ตั้งแต่ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึง กันยายน ๒๕๖๒เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๖,๘๓๕,๐๗๗ บาท (หกล้านแปดแสนสามหมื่นห้าพันเจ็ดสิบเจ็ดบาทถ้วน) ทั้งนี้ ไม่รวมปัจจัยบูชาพระประธานและฉัตร อีกจำนวนหนึ่งพระพุทธรูปองค์ประธานขนาดหน้าตัก ๒๙ นิ้ว ๔องค์ และพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๑๙ นิ้ว ๓๒ องค์ที่หลวงพ่อทวีนำขึ้นไปประดิษฐานที่พระมหาธาตุเจดีย์จังหวัดแห่งนี้เป็นหินสีเขียวน้ำโขงจากอำเภอแม่สายเชียงราย ท่านเดินทางไปเลือกด้วยตัวท่านเองและเมตตาบอกบุญญาติธรรมและศิษยานุศิษย์ร่วมบูชาตามศรัทธาบารมีรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๔,๑๒๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้าน หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)นอกจากนี้ทางวัดป่าบ้านสูบได้จัดสัปทน ๙ ต้นฉัตร ๘ ตัน เพื่อประดับรอบองค์พระมหาธาตุเจดีย์ให้สวยงามโดยปัจจัยทั้งสิ้นมาจากญาติธรรม ศิษย์ของหลวงพ่อทวี จากกรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเลย  เป็นต้น และ เจ้าภาพซึ่งไม่สามารถระบุรายนามได้ทั้งหมด ผู้จัดพิมพ์ขออนุโมทนาบุญทุกเจ้าภาพ รายชื่อที่ไม่อาจนำมาแนบได้ในหนังสืออัตชีวประวัติของ หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต ครั้งนี้ ยอดปัจจัยในส่วนนี้เป็นจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)

การฉลองพระเจดีย์

ในวาระงานบุญกฐินสามัคคี ปี ๒๕๖๒ (ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโตได้พิจารณารับเป็นประธานสงฆ์ในการทอดกฐินสามัคคีได้ปัจจัยทั้งสิ้น ๒,๖๐๒,๖๙๘ บาท (สองล้านหกแสนสองพันหกร้อยเก้าสิบแปดบาท) ท่านมีดำริว่าการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดอีสาน ที่วัดป่าบ้านสูบ(ธ)จังหวัดเลย ดำเนินการมาด้วยปัญญาบารมี วิริยะบารมีอย่างอุกฤษฏ์ ทำให้ก้าวหน้าตลอด ๓ พรรษา และทางพระอาจารย์ทองใบ (เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านสูบ) ได้เตรียมสร้างเสนาสนะไว้พร้อมรับรองเพื่อทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่   ๒๐ (อัมพรอมฺพโร) เสด็จมาเป็นประธานการฉลองพระมหาธาตุเจดีย์

ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ (ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓) ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นมาฆะฤกษ์เหมาะสมยิ่งในการฉลองสมโภชพระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้      

อัตชีวประวัติ ของ หลวงปู่ทวี จิตุตคุตุโต

ชาติภูมิ หลวงปู่ทวี กำเนิดอยู่ที่ บ้านสูบ ต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย บิดาชื่อ นายดี สุรสิงห์ มารดาชื่อ นางบัวผัน มะลิเวิน มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๘ คน คือ ๑. นายทวี (พี่คนโต) ๒. เด็กหญิงบัวลี (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ๓. เด็กหญิงจันทร์ศรี (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ๔. นางบุญมี  ๕.เด็กหญิงกองหลี (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ๖. เด็กหญิงคำแปลง (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ๗. นางจำปี  สรุปแล้วยังมีชีวิตอยู่ ๓ คน      

 ชีวิตเมื่อเยาว์วัย

หลวงพ่อทวี เกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๓ ปีมะโรง พอเกิดมาก็ร้องไห้อยู่ตลอดเวลา คุณแม่ได้พูดให้ฟังว่า ก่อนที่จะตั้งครรภ์เด็กชายทวี ได้ฝันเห็นคนแก่คนหนึ่งเอา   ช้างดอมาให้ ( ช้างดอ คือ ช้างตัวผู้ที่ไม่มีงา ) แล้วพูด “อีนางเอย พ่อจะให้ช้างตัวนี้แก่เจ้าเน้อ ให้เจ้าจงรักษาเอา” นี่คือผู้หญิงทั้งหลายเมื่อแต่งงานแล้วเวลาจะได้ลูกคือความฝันที่จะเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคลคือลูกที่เกิดมาในครอบครัวนั้น แม่พูดให้ฟังว่าเราเกิดมาแล้วมีแต่ร้องให้อยู่ทุกเวลาแม่ก็ได้อุ้มเราไปหาหมอที่ไหนๆก็ไม่หายจากการร้องไห้ แม่จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ลูกชายคนนี้จะให้บวชอยู่ในบวรพุทธศาสนา” พอตั้งจิตอธิษฐานจบลง เด็กชายทวีก็หยุดร้องไห้ทันที ในคืนนั้นแม่ก็ได้ฝันเห็นลูกชายคนนี้ว่าได้นั่งอยู่ในป่าขมิ้นเหลืองอร่ามเลยลูกหยุดร้องไห้ตั้งแต่คืนนั้นเป็นต้นมานี่แหละลูกเอ๋ย ที่แม่ได้เลี้ยงลูกมา เวลาลูกร้องไห้แม่ก็ต้องร้องไห้ เวลาลูกหัวเราะ แม่ก็ต้องหัวเราะสนุกสนานไปกับลูกด้วย อันนี้คนเราเกิดมากับพ่อแม่เราเป็น ผู้มีพ่อแม่คนเดียวเท่านั้น เราเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่  ก็ควรให้รู้จักกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อพ่อแม่ดื้อรั้นต่อพ่อแม่  อย่าไปดุดันดื้อรั้นต่อพ่อแม่ ให้กลัวต่อบาปกรรมจะมาถึงเรา ถ้าเราทำกับพ่อแม่ไว้อย่างไร เราก็จะได้รับอย่างนั้น อันนี้แหละ พวกเราที่เกิดมาเป็นลูกของพ่อแม่ เมื่อยังเด็กอยู่นั้นว่าเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ท่านซักผ้าขี้ตีผ้าเยี่ยว ลูกเจ็บไข้ได้ป่วย แม่ก็ต้องกินยา เมื่อลูกป่วยไข้แม่ก็ต้องป่วยไข้ไปด้วย เมื่อลูกป่วยไข้ยังกินยาไม่เป็น ยาก็ต้อง ผ่านทาง น้ำนมของแม่ทีนี้เราจะได้ดูผลกรรมของเราที่ได้เกิดมาในภพนี้หรือชาตินี้ เรามีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว พอเราเกิดมาได้อยู่ประมาณ ๖-๗ ขวบ พ่อก็ได้เอาไปฝากไว้กับครูที่โรงเรียน พ่อไปทำทางจากจังหวัดเลยไปที่ด่านซ้าย ในยุคสมัยสงครามญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทางหน่วยราชการยังไม่มีเครื่องจักรกลอันใดเลย ใช้แต่ชาวบ้านเป็นกำลัง ก่อนผู้เป็นพ่อจะไปทำงานนั้น พ่อก็จะขุดหลุมเพาะไว้ให้ลูกและภรรยา เด็กชายทวี(หลวงพ่อทวี) เป็นผู้มีความว่องไว้ไม่ได้เป็นคนอืดอาด เพราะมีจิตใจระวองระแวง (ระแวดระวัง)อยู่เป็นนิจ เมื่อมีเครื่องบินมาแต่ละครั้งแม่ก็จะเรียกให้วิ่งลงหลุมเพาะทันที มีเด็กหญิงคนหนึ่งที่อยู่บ้านใกล้กัน เป็นคนอืดอาดมาก เวลานอนกลางคืนเรียกไม่ค่อยจะตื่น เวลาเครื่องบินมาแต่ละครั้ง แม่ก็ตึงขามาลากไว้ที่ประตู แม่ก็วิ่งลงหลุมเพาะ พอแม่กลับมาก็ยังนอนเฉยอยู่ทีเดียว พอต่อมาพ่อที่ไปทำทางก็ได้ไปติดไข้ป่า ทำงานกับเขาไม่ได้ ก็ได้ลักหนีมา (แอบหนีมา) เจ้าหน้าที่เขาก็ ตามจับไปติดคุกอยู่ ๖ เดือน พอพันจากคุกมาแล้วก็ป่วยหนัก จนถึงแก่ความตาย ต่อมาแม่ก็ได้มีพ่อใหม่อีกคนหนึ่ง ที่บ้านตาดช่อ อ.เชียงคาน จ.เลย ชื่อ นายแก่น บุดดา  

 จิตใจโน้มน้าวไปสู่ธรรมตั้งแต่วัยเด็ก

ตอนนี้อายุของเราได้ ๘ ขวบ จึงได้เข้าเกณฑ์อยู่ในโรงเรียน การเรียนก็ได้เอาใจใส่ต่อการเล่าเรียน การไปโรงเรียนก็ไปไม่ขาด การสอบก็ได้ที่ ๒ ที่ ๓ มาโดยตลอดผู้ที่เป็นอาจารย์เขาก็รักเรามาก    พร้องทั้งให้เราเป็น หัวหน้าหมู่นำร้องเพลงชาติและไหว้พระในตอนเช้า มีการสอบตกอยู่ ๒ ปี เพราะว่าตอนนั้นป่วยเป็นไข้ เมื่อเรียนจบชั้น ป.๔ แล้ว กำลังรอฟังข้อสอบอยู่นั้น ก็คิดที่อยากจะบวช มีพวกคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกพี่สาวของพ่อกำลังคุยกันเล่นตอนหัวค่ำ ผู้เป็นพ่อก็คอยฟังอยู่ ผู้เป็นแม่กำลังทำอาหารอยู่ยังไม่เสร็จ ตัวเราเองก็ได้พูดเปรยๆ ขึ้นว่า “เมื่อเราสอบไล่ได้แล้ว เรามาพากันไปบวชเณรบ่ เราคิดอยากจะบวชเหลือเกิน” ผู้เป็นพ่อได้ยินดังนั้นก็พูดขึ้นว่า “ถ้าพวกโตอยากจะบวช  ก็จะเอาไปบวช  ให้ไปอยู่กับอาที่บ้านโพนนาซ่าวนั่น ถ้าสอบไล่ได้  ถ้าสอบ ไม่ได้ก็ต้องเรียนต่อ”เมื่อเราพูดว่าอยากจะบวชนั้น พอตอนกลางคืนมาก็ฝันเห็นพระองค์หนึ่งมาอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านนั้นเป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ กิริยามารยาทน่าเลื่อมใสความคิดที่อยากจะบวชนั้นยิ่งทวีคูณขึ้น ที่ท่านอยู่นั้นมีกระต๊อบอยู่ที่หัวทางเดินจงกรม มีหนังสือพระไตรปิฎกอยู่ ๓ เล่ม พระองค์นั่น ท่านไปบิณฑบาตที่ป่า เรามองดูที่บาตรนั้นก็มีแต่ใบไม้ผลไม้เต็มบาตร แล้วก็มีกลิ่นหอม คิดอยากจะทานกับท่าน ที่พระองค์นั้นท่านไปบิณฑบาตวันธรรมดาจะไปที่ป่า ถ้าเป็นวันพระจะไปที่หมู่บ้าน พอตื่นเช้ามาก็ได้พูดกับพ่อว่า “เมื่อคืนผมได้ฝันเห็นพระองค์หนึ่งได้มาอยู่ที่ป่าตรงนั้นนะพ่อ” พ่อก็เลยว่าให้สอบไล่ได้  เสียก่อนจะเอาไปบวชอยู่กับอาโน่นแหละพอต่อมาไม่นาน  พ่อเลี้ยงก็มาตายเสียอีก แม่ก็ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่เดิม  คือ ที่บ้านสูบอีก ทำนา ทำไร่ อยู่กินกับตายาย

พบหลวงปู่คำดี ปภาโส

พออายุได้ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น แม่และคุณตา กับญาติพี่น้องด้วยกันหลายคน ได้ยินข่าวว่า มีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาอยู่ที่ถ้ำผาปู บ้านนาอ้อ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของยายกับแม่นั่นเอง ยายเป็นคนบ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย พ่อของเด็กชายทวีเป็นคนบ้านฟากเลย  ต.ในเมือง จ.เลย  ซื่อนายดี สุรสิงห์ แม่กับคุณตา และญาติก็ได้ไปเที่ยวที่ถ้ำผาปู่  ได้ฟังเทศน์ของหลวงปู่คำดี ปภาโส แล้วซาบซึ้งในธรรมะของ หลวงปู่คำดี ก็ได้มาที่บ้านพากันหาที่จะสร้างวัดขึ้นมา พอได้ที่แล้วก็พากันสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นมา แล้วพากันไปนิมนต์หลวงปู่คำดีมาที่บ้าน  ตอนนี้แม่ก็ได้ให้เราไปปฏิบัติหลวงปู่คำดีเป็นคนรับใช้ท่าน เมื่อเราเห็นปฏิปทาข้อประพฤติปฏิบัติของ  หลวงปู่คำดีแล้ว  ก็ยิ่งคิดอยากจะบวชอย่างแก่กล้าเลยทีเดียว

สู่เพศพรหมจรรย์

อยู่มาวันหนึ่ง เราได้ช่องได้โอกาสแล้ว ก็ได้พูดกับหลวงปู่คำดีว่า “กระผมอยากจะบวชหลายๆ หลวงปู่ทำอย่างไรกระผมจึงจะได้บวช” แล้วก็เล่าเรื่องที่เราฝันเห็นในคราวนั้นให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่คำดีท่านก็พูดออกมาเปรยๆ ว่า…เด็กคนนี้มีอุปนิสัยในพระพุทธศาสนาหลวงปู่คำดีก็ได้พูดกับเราว่า “ถ้าเธออยากจะบวชจริงๆก็ให้ไปขออนุญาตจากแม่เสียก่อน เมื่อแม่อนุญาตให้แล้วก็จึงมาบวช” ตัวเราก็ได้มาปรึกษาแม่ดู แม่ก็อนุญาตให้บวช แล้วได้มีหมู่พวกได้ไปเข้านาคในคราวนั้นมีอยู่  ด้วยกัน ๖ คน คือ  ๑.นายทวี ๒.นายเหมือน ๓.นายเปลี่ยน ๔.นายคำ ๕.นายปุ่น   ๖.นายบัวล้น  ที่ได้บวชกันจริงๆ มี ๕ คนเท่านั้น คนที่ ๖ ทนต่อการอดข้าวแลงไม่ได้(ข้าวแลง หมายถึง ข้าวเย็น) ได้หนีมาก่อน เมื่อเราได้บวชเป็นเณรแล้วเราเองก็ได้ตั้งอกตั้งใจทำความพากเพียรประพฤติปฏิบัติโดยไม่ลดละหมั่นไปอบรมศึกษากับหลวงปูคำดีอยู่เป็นเนืองนิตย์ และเราก็ได้เป็นเณรปฏิบัติรับใช้อยู่กับหลวงปูคำดีอยู่ตลอด ตอนที่เราบวชเป็นเณร หลวงปู่คำดี ท่านได้อยู่ถ้ำสูงบนรอยพระบาทนั้น ส่วนตัวเราเองก็ได้อยู่กุฏิ ใต้รอยพระบาท มีอยู่วันหนึ่งหลวงปู่คำดี  ท่านได้ชวนเราไปเที่ยวบนหลังเขาถ้ำผาปูนั้น หลวงปู่ท่าน ได้สัญญากับเราว่า ใครจะขึ้นไปบนหลังเขานั้นได้ก่อนกันเมื่อสัญญาแล้ว ท่านก็ยื่นมือมาเอาย่ามจากเรา แล้วท่านก็ไปทางหนึ่ง ผลสุดท้ายหลวงปู่ท่านไปถึงบนหลังเขาก่อนเราเป็นครึ่งชั่วโมง เราเป็นเด็กยังสู้คนแก่ไม่ได้ พอเราไปถึง หลวงปู่แล้ว พอเราหายเหนื่อยแล้ว ท่านก็อบรมธรรมะแก่เราว่า… “ทวีเอ๋ย…เมื่อเราได้เข้ามาบวชแล้ว ให้เราตั้งอกตั้งใจศึกษา แล้วเรียนธรรมวินัยให้ได้ ให้มันคล่องแล้วก็ปฏิบัตินั่งสมาธิภาวนาไปด้วย เพื่อทำจิตของเราให้เข้มแข็งต่อสู้กับกิเลสราคะตัณหาก็ยังไม่แก่กล้าเพราะเรามันเด็กอยู่การประพฤติปฏิบัติก็จะไปง่ายและรวดเร็ว ให้ดูกาย กรรมฐาน ๕ ที่สอนเอาไว้นั้น ให้หมั่นทำหมั่นพิจารณา ให้แยบคายว่า ผมขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ พิจารณามันลงไปจนถึงมุตตัง   น้ำมูต นั้นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นธาตุ เป็นอนัตตาอย่างไร มันเป็นของปฏิกูล มันเกิดมาจากอะไร เพราะอาการสามสิบสองมันไม่ได้เกิดขึ้นมาจากเพชรจากพลอยจากแก้วแหวนเงินเกิดมาจากกองปฏิกูลนับตั้งแต่ กลละ อัมพุฌชะ ขะ นะ เปสิ ปัญจะสาขา คือกามธาตุทั้งนั้น เมื่อเราพิจารณา อยู่อย่างนี้บ่อย ๆ  จิตมันจะคลายความกำ  หนัดยินดีออกจากมันมาเรื่อย ๆ   เพราะจิตของเรามัน  หลงอยู่กับร่างกายนี้ ว่าเป็นเขาเป็นเราอยู่ เพราะขาด  จากการพิจารณา   มัวเพลิดเพลินจิตใจไปทางอื่น”  หลวงปู่เทศน์ให้ฟังอยู่ประมาณชั่วโมงกว่าๆ แล้วก็ค่อยเดินไปตามสันเขา กลับมาถึงวัดเวลาบ่ายสามโมงพอดี จะขอรวบรัดตัดตอนไว้ก่อน เพราะว่าเขียนไปให้หมดก็จะมากเกินไป

 ตอบแทนคุณผู้บังเกิดเกล้า

เมื่อออกพรรษาแล้ว ประมาณเดือนธันวา – มกราก็มีญาติคนหนึ่งมาพูดให้ฟังว่า แม่ของเณรนั้นเดี๋ยวนี้ มันทุกข์ พวกน้องๆเขาด่าเขาว่าเอาจนน้ำตาไหล อยู่ไม่ขาด แต่เมื่อมีหมากมีผล เวลาทำไร่ทำนานั้นเบื้องตันมันก็ดีแล้วก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง อยากจะขอให้เณรนั้นออกไปช่วยแม่เสียก่อนเถิด ในตอนนี้จิตใจของเราเกิดความว้าวุ่นขึ้นมาแล้ว ทั้งจิตใจหนึ่งก็ไม่อยากจะลาสิกขา เพราะจิตใจยังดูดดื่มอยู่ในธรรมของพระศาสนาอยู่มาก ส่วนแม่ก็เป็นทุกข์จริงๆ ก็ได้นำเอาเรื่องนี้ไปพูดกับหลวงปู่คำดี หลวงปู่คำดี ท่านก็ช่วย เมตตาเรามาก ท่านพูดออกมาว่า ถ้าเณรสิกขาลาเพศไปเสียก่อนก็ได้ พอถึงเวลาอยากจะกลับมาอีกก็ได้ เมื่อท่านพูดอย่างนี้แล้ว ตัวเราก็ลาสิกขา ออกไปเลี้ยงดูแม่ อายุของเราตอนนั้นย่างเข้า ๑๘ ปี แล้วก็มีจิตมานะขึ้นมาว่า…เรขาเองก็เป็นลูกผู้ชายคนหนึ่ง อวัยวะของเราก็มีครบทุกส่วน ดูไม่มีสิ่งใดได้บกพร่องไป เขาก็คน เราก็คนเหมือนกัน จะไปขอกินน้ำย้อยศอกเขาทำไมวาตัวเราเองก็ได้ตั้งอกตั้งใจทำงานเลี้ยงแม่และน้องจนน้ำตาของแม่เหือดแห้งไป  ที่นี้บุคคลที่เขาอิจฉาแม่นั้นกลับกลายเป็นคนทุกข์ยาก   จนไปกว่าเราเสียอีก  เขาก็ได้มาพึ่งพา  อาศัยเรา  เราเองก็ไม่ว่าอะไร  เพราะว่าเราเองเป็นคนชนะเขาแล้ว

กลับสู่เพศพรหมจรรย์อีกครั้ง

พออยู่ต่อมาอายุได้ประมาณ ๒๒ ปีแล้ว มีคืนหนึ่งตอนนั้นเราเองได้ไปนอนอยู่ที่ไร่ ได้ฝันเห็นพระอริยเจ้า เราก็ได้เข้าไป พระองค์หนึ่งได้เสด็จลงมาที่กลางไร่นั้นกราบไหว้ แล้วจะขอรับบริขารจากท่าน เพื่อที่จะนิมนต์ -“เธอ ท่านขึ้นไปที่กระต๊อบในไร่นั้น ท่านก็พูดออกมาว่า… จะบวชไหม ถ้าเธอไม่บวช เราก็จะ ไม่ให้รับบริขารนี้เป็น ท่านอันขาด”   เราก็ตัดสินใจไปว่า “กระผมจะบวชขอรับ” พอนั้น จนดีท่านก็ยื่นบาตรและบริขาร ให้เรา แล้วท่านก็กลับกลายหายตัวไปเลย ตั้งแต่นั้นมาเราก็ปริวิตกคิดแต่อยากจะบวชดูน้องสาวก็ใหญ่โตพอเลี้ยงแม่ได้แล้ว    เขาก็มีสามีแล้วต่อนั้นมาประมาณสักอาทิตย์ผู้เป็นป้าก็อยากให้เรามีครอบครัว มีแม่ของหญิงสาวและพี่ชายใหญ่ของหญิงสาวมาติดต่อกับป้าของเรา เขาอยากจะเอาไปเป็นลูกเขยของเขา ป้าจึงได้พูดกับแม่ของเราว่า ( เณรที่สึกแล้วเรียกเซียง ) มันไปหาป้าแหน่เด๊อ จะพูดอะไร”วันนี้ให้บักเชียง”ให้มันฟังสักอย่าง” เมื่อเรากลับจากไร่ถึงบ้านได้ทานข้าวเย็นเสร็จแล้วเตรียมตัวจะไปเที่ยวสาว ( ไปจีบสาว ) แม่ก็เลยบอกว่า “บักเชียง จะไปไหนก็ให้ไปหาป้ามึงเสียเน้อ ป้ามึงจะพูดอะไรก็ไม่รู้ แม่ถามแล้วแต่ป้าไม่บอกเมื่อเราไปหาป้าแล้วป้าก็พูดว่า “ป้าจะหาสาวให้ โดจะเอาบ่ตัวเราก็ย้อนถามออกไปว่า “ใครเล่าป้า” ป้าก็บอกว่าคนนั้นๆ เพราะว่าเขาอยากได้โตเอง ทุกสิ่งเขาจะไม่ให้ยุ่งยากอะไรหรอกนะ ทรัพย์สมบัติเขาก็ยกให้โตเองหมดทุกอย่าง ผู้สาวที่โตได้ไปพูดนั้น ป้าก็ไม่อยากจะให้เอาหรอกนะ ป้าไม่เห็นดีด้วย ตัวเราเองก็นั่งคิดตรึกตรองดูสักพักหนึ่งก็เลยพูดออกมาว่า “ให้ไปถามแม่ดูเสียก่อนท่านจะว่าอย่างไร” ต่อจากนั้นเราก็ไปเที่ยวสาวตามเคยจนดึกประมาณห้าทุ่มถึงหกทุ่มจึงกลับบ้าน พอตื่นเช้ามาก็เลยพูดกับแม่ว่าป้าจะหาสาวให้จะให้เอาบ่ ว่าคนนั้นๆแม่ก็ถามเราว่าโตรักเขาบ่ ถ้าโตรักเขา จะเอาก็เอาเราเองก็ตอบว่า ก็รักเขาอยู่เหมือนกัน แต่ว่ามันคือจะทุกข์แท้จะเอาเมียนะ ลูกอยากจะบวชนะแม่ แม่ก็เลยพูดว่าดีแล้วลูกเอ๋ย แม่ก็ดีใจด้วย ถ้าลูกบวชให้แม่ตอนที่ลูกบวชเณรนั้น แม่ก็ดีใจอยู่ดอกนะ แต่ยังไม่อิ่มพอ ถ้าหากว่าลูกได้บวชให้แม่ๆ ก็จะได้ไม่เสียใจ เพราะว่าการมีลูกมีเมียนั้นแม่ก็จะไม่ได้อาศัยลูก ถ้าหากลูกได้บวชเป็นพระอยู่ไปได้ตลอด แม่ก็จะได้อาศัยลูกไปจนถึงวันแม่ตายนั่นแหละการมีลูกมีเมียนั้น จะนอนตื่นสายก็ไม่ได้ ต้องตื่นตึกลุกแต่เช้า หลังตากฟ้าหน้าตากฝน ฝนตกแดดออกก็ไม่ได้อยู่มันไม่เหมือนอยู่กับแม่นะ อยู่กับแม่จะตื่นเวลาไหนก็ตื่นแม่ก็ได้พูดถึงเรื่องตัวเราเกิดมาตั้งแต่เล็กว่า แม่ได้ลูกคนนี้มาก็แสนยากลำบากจริง ๆ ลูกเกิดมาก็มีแต่ร้องไห้ เมื่อแม่ยังเป็นสาวอยู่ แม่ไม่เคยรู้จักหมออยู่ พอได้ลูกมาแล้วลูกร้องไห้ ยามดึกตื่นเที่ยงคืนก็ต้องอุ้มลูกไปหาหมอลูกร้องไห้แม่ก็ต้องร้องไห้ ลูกหัวแม่ก็ได้หัว (ลูกหัวเราะแม่ก็ได้หัวเราะ) แม่จึงได้บนบานศาลกล่าวเอาไว้ว่าลูกชายคนนี้ เมื่อใหญ่โตขึ้นมาแล้วจะให้บวชในพระพุทธศาสนา พอ ไม่ให้มีลูกมีเมียจะเป็นเศรษฐีกฎุมภีอย่างไรก็ไม่เอาจบคำบนบานศาลกล่าวคำนี้ลง ลูกจึงได้หยุดการร้องไห้ตั้งแต่นั้นมา เมื่อแม่ท่านพูดอย่างนี้ให้เราฟังแล้ว จิตใจของเรา ยิ่งอ่อนลงๆ ป้า…ก็เลยไม่ไปบอกให้รู้ สาวก็ไม่ไปหา ตัวเราเองก็ได้คิดถึงคราวได้พูดกับพระอริยเจ้าตอนที่อยู่ไร่นั่นแล้ว แล้วก็คิดถึงหมู่พวกที่มีเมียแล้ว เราก็ได้ไปเยาะเย้ยเขาตอนที่เมียเขาคลอดลูกนั้น เขาได้เอาผ้าถุงของเมียและผ้าอ้อมของลูก ไปซัก เพื่อนเขาจองกรรมเอาไว้ เขาก็จะมาเย้ยเราอีก เพราะว่าในสมัยนั้น การคลอดลูกจะต้องคลอดที่บ้านใครบ้านมัน ไม่ได้คลอดที่ในปีนั้นมี โรงพยาบาลเหมือนทุกวันนี้ พระอาจารย์จันทร์ดา กสฺสโป ไปจำพรรษาที่บ้านนั้น พอออกพรรษาท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปที่ขอนแก่น หมดเขตกฐินแล้วแล้วเราเองก็ได้ติดตามท่านมาบวชที่วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่นของแก่น การบวช หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต ในวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๐๕ ที่วัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่นพระ อุปัชฌาย์คือ พระวินัย สุนทรเมธี พระกรรมวาจาจารย์พระครูศรีธรรมาลังการ พระอนุสาวนาจารย์ พระมหาศรีต้นสังกัดอยู่ที่วัดป่าวิเวกธรรมเหล่างา ต.พลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น

พรรษาที่ ๑ วัดป่าทรงธรรมจังหวัดอุดรธานี (พ.ศ. ๒๕๑๕)

เมื่อได้อุปลมบทแล้ว ก็ได้เดินธุดงค์ไปตามทางรถไฟได้ไปพักอยู่ที่บ้านหนองแดง อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานีได้ประมาณสัก  ๑  เดือน ก็ได้เดินทางต่อไปที่ วัดป่าทรงธรรมบ้านดอนแคน   ต.พันดอน อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ได้ จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ เป็นพรรษาแรก ๑ พรรษา ในพรรษาปีนั้น ได้เกิดมีอาการป่วยอย่างหนักเลย เพราะว่าเราเคยอยู่อากาศดง  แล้วมาอยู่อากาศทุ่งเลยเป็นโรคไข้แพ้ อากาศในลำตัวแข็งกระด้างทั้งตัวไม่ได้ฉันยาอะไรเลย เพราะไม่มียาจะฉัน (เนื่องจาก ที่นั่นเป็นที่ทุรกันดารมากคนยากจน มีคนไปจังหันมาก แต่พระ  ๕  องค์ ฉันไม่อิ่ม) มีแต่ธรรมโอสถอย่างเดียวเท่านั้นตัวเราเองก็ได้แต่ พิจารณากรรมฐาน อยู่ในอาการ  ๓๒  เป็นเนืองนิตย์ไม่ได้ ผลที่สุดก็ได้มีจิตรวมถึงอัปนาสมาธิ เห็นร่างกายนี้เป็นสัดส่วน มีกระดูกทุกส่วนเห็นหมด มีหนัง มีเนื้อใน อาการ ๓๒ ทุกส่วน   ก็เห็นหมด   ต่อจากนั้นอาการไข้ก็หายไป  แต่มีอาการซึมๆ อยู่ อาจารย์ก็ได้มาฉีดยาให้  ที่นี้กรรมเวรเอ๋ย…มันก็เกิดเป็นฝีหัวเข็ม นอนหงายก็ไม่ได้เป็นกรรมแท้ๆ จิตใจทำไมมันไปติดเอาแต่กรรมที่ทำเอาไว้ ตั้งแต่เมื่อเป็นฆราวาสอยู่นั่น คือ เราได้ไปยิงเก้งตัวหนึ่งตาย    ได้ยิงถูกหน้าขาไปผุดอยู่ที่บั้นท้ายขาหลัง ( ทะลุขาหน้า ไปตุงอยู่บั้นท้ายขาหลัง ) จิตใจมันก็ไปติดอยู่ตรงนั้นแหละ พิจารณากรรมฐานอย่างไรก็ไม่หาย วันนั้นเป็นวันอุโบสถ คือ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อาจารย์ก็ไป ลงอุโบสถที่วัด จอมศรี (บ้านน้ำฆ้อง) ยังไม่มา

เทพธิดามาขอสรงน้ำ

เราเองก็ได้นิมิตเห็นเทพธิดาลงมาหา เห็นเขาหาเครื่องไทยทาน มีผลไม้ทุกชนิด   มีผ้าเหลืองเป็นผ้าไตรจีวร   เต็มไปหมดที่ตาลานั้น เราก็ได้ไปถามเขาดูว่าเขามาทำอะไร เขาก็ตอบออกมาว่า  (หดสรง หมายถึง เอาไม้ไผ่ ผ่าซีกยาว   ประมาณ ๒ เมตตา  ทำเป็นรางน้ำอยู่บนหลัก ๒ หลักลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อไห้น้ำไหลสะดวก  พระนุ่งผ้าอาบน้ำนั่งบนเก้าอี้  ทางที่นั้นไหลลง  ญาติโยมพากันเอาน้ำที่ผสมน้ำอบ  น้ำหอม ขมิ้น ไพล  ส้มป้อยและเครื่องหอมต่างๆ  ตักน้ำเทลงที่หัวรางน้ำไหลลงไปอาบพระรูปนั้น  จากนั้นก็เอาผ้าไตรจีวรชุดใหม่ให้ท่านนุ่งห่มแทนชุดเก่า ประเพณีอย่างนี้เรียกว่า  “หดสรง” เราเองก็ตอบเขาไปว่า เราเองยังไม่รู้ธรรมเห็นธรรมเรายังไม่ให้หดสรง ตอนนั้นจิตมันออกจากร่างกายไปทางทุ่งนามองเห็นแต่พวกเทวดาพากันเหาะมาบนอากาศเป็นทิวแถวเหมือนกับหมู่แมลงเม่าออกจากรู   ดูหน้า  ดูตาใครก็เป็นเหมือนกันกับหนุ่มสาวที่เราได้มาอยู่ด้วยกันมานานหลายสิบปี เห็นเทวดาแก่ๆ องค์หนึ่งพาเขามาเขาจะมา แต่  

เราก็หนีเขาไปไม่กลับมา เราก็ไปเห็นหนองน้ำใหญ่หนองหนึ่ง แล้วก็เห็นวัด เป็นวัดทางมหานิกาย เห็นเป็นไฟลุกไหม้ อยู่ทั้งหมดวัดเลย แล้วก็เห็นพระเณรเขามาแก้สบงจีวรแล้วก็กระโจนลงหนองน้ำนั้น แล้วก็ไม่เห็นโผล่ขึ้นมาสักองค์เลย ต่อจากนั้นเราก็ได้เดินข้ามสะพานไป ได้เห็นผู้ชายคนหนึ่ง เขาพูดออกมาว่า ท่านอย่าไปนะให้ท่านรีบกลับ เดี๋ยวหัวหน้าใหญ่ผมมาแล้ว ท่านจะต้องตายนะ   พอเขาพูดอย่างนั้นแล้วเราก็หันหน้ากลับวัดตอนนี้ก็พอดีอาจารย์กลับมาจากลงอุโบสถ ท่านเรียกเราอยู่ตั้งนานก็ไม่ตื่น พอเรารู้ตัวขึ้นมาท่านก็ดุเอา ต่อแต่นั้นมาโรคที่ป่วยอยู่นั้นก็ค่อยหายมาเรื่อยๆ แต่สภาพจิตก็ยังคิด  เห็นเก้งตัวนั้น อยู่เป็นนิจ ทีนี้เราเองก็เลยตั้งจิตอธิษฐาน    แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลที่เราได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานี้ จะมอบแก่เก้งตัวนั้น เราก็ยอมรับสารภาพการกระทำที่เราทำไปนั้น   เพราะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ขอเก้งตัวนั้นจงอโหสิกรรมให้เราด้วย ตั้งแต่นั้นมาจิตใจก็จืดจางหายไป ในเดือนต่อมาตรงกับการทำทานวันทานสลากหรือวันสาร นั่นเอง ในคืนวัน   ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ นั้นก็ได้นิมิต เห็นจ่ายมบาลต้อนพวกเปรตทั้งหลายให้มารับผลทานจากญาติในวัน   ๑๕   ค่ำ เดือน ๑๐ เห็นจ่ายมบาลเอาไม้ค้อน (ไม้กระบอง) ตีต้อนมาเหมือนกับบุคคลที่เขาต้อนหมูไปฆ่า ดูแล้วน่าสังเวชเอาจริง พอมาถึงวันงานเวลาที่ญาติโยมเขาถวายทานอยู่นั้น    เห็นพวกเปรตทั้งหลายเข้ามาแย่งกินที่บาตรและอาสนของเรานั้นทั้งหมอไม่เห็นไปกินของพระองค์อื่นเลย แล้วก็มีโยม คนหนึ่งเอน้ำใส่ขวดมาถวายเราเอง ๔ ขวด แต่เราเห็นเป็นโอ่งมังกรเปรตทั้งหลายก็พากันมาแย่งกินน้ำในโอ่งนั้นจนหมด แล้วนายยมบาลก็ได้ต้อนพวกเปรตทั้งหลายนั้นไปที่นรกอีกเหมือนเดิม วันนั้นตัวเราเองก็ปรากฏว่า ฉันอาหารไม่รู้จักอิ่มเลย อาหารในบาตรก็หมดสิ้น ตัวเราเองก็ต้องอิ่มเอาเอง ที่ได้จำพรรษาปีแรกนั้น ได้เห็นทั้งเทวดาและเปรตเป็นเครื่องรี้ให้เห็นว่า คนเราทำ ทั้งบุญและบาป บุคคลทำบุญแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดาบุตร เทวดา มีแต่ความสุขสบาย บุคคลที่ทำบาปชั่ว ไม่ทำบุญ ให้ทาน รักษาศรีก็ได้ไปเป็นเปรต ถูกนายยมบาล ต้อนดีไปเหมือนกับเขาต้อนหมูไปฆ่า นี่แหละคนเราไม่เชื่อกรรมไม่เชื่อผลของกรรม คนไม่เชื่อถึงคราวมันก็ต้องเชื่อ แต่เมื่อถึงตอนนั้นแล้ว เราเองจะแก้ไขอย่างไรไม่ได้แล้ว สิ่งที่เราต้องแก้ก็ต้องตอนเมื่อยังมีชีวิดอยู่เท่านั้น การที่ญาติทำบุญอุทิศไปให้เท่านั้น การที่เราทำบุญกุตลอุทิศส่งไปให้แก่ญาตินั้นเมื่อก็เพียงแค่ที่เห็นมาดามที่เขียนมาแล้วข้างต้นญาติรับแล้ว จะได้ไปเกิดดีมีสุขนั้น เป็นเพียงแต่เราคิดเอาเตาเอาเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว มันเป็นอย่างไรก็ไม่รู้เพราะไม่มีผู้รับประกัน ลัทธิอื่นศาสนาอื่นที่เขาเขียนป้ายโฆษณาอยู่ตามเลาไฟฟ้าก็ดี อยู่ตามตันไม้ที่สูงๆ กิดีสอนให้คนทำแต่บาปความชั่วใส่บาปเอาหมด มันเท็จจริงแค่ไหนใครจะไปรู้ได้ ของที่มันไม่เห็นตัวเห็นตน คนลัทธิที่อื่นที่ไป ได้รับโทษพระผู้เป็นเจ้าก็ยังไม่มาช่วย มีแต่ผัวเมียนั่นแหละมาช่วยที่เขียนป้าย ผัวเมียกันนั้นเป็นพระผู้เป็นเจ้าอันแท้จริงโฆษณานั้นเป็นของหลอกลวง ไม่ใช่ของจริงพระผู้เป็นเจ้าแต่งสัตว์ให้เกิดนั้นมันเท็จจริงอย่างไรก็ให้ใคร่ครวญดูให้ถ่องแท้เลียก่อน แล้วจึงเชื่อ แม่ของเราไปนอนกับพระผู้เป็นเจ้าหรือ ไม่ได้นอนอยู่กับพ่อของเราหรือ ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าพ่อบ้านไม่มีน้ำยาละสิ ธรรมะของหลวงพ่อทวีนี้เผ็ดร้อนยิ่งกว่าพริกแด้ หรือว่าพริกขี้หนูนั่นแหละ มันเผ็ดร้อน ก็ไปตามเหตุตามผลของมัน เหตุผลของเขาที่พูดออกไปนั้นก็ต้องคิดนึกตรึกตรองดูให้ดีเสียก่อน ที่มันเดือดร้อนกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะว่า ขาดความไม่มีศีลธรรมนั่นเอง แม้แต่พ่อแม่ก็ยังให้ฆ่าได้ (หมายถึงให้ลูกฆ่าพ่อฆ่าแม่ได้) ที่เป็นครูสอนศาสนาสอนให้ทำอย่างนั้น ก็ไม่คิดว่าว่า ตัวเองเป็นพ่อเป็นแม่ของเขา แล้วลูกของเรามาฆ่าเราแล้วเราจะคิดอย่างไรทำไมไม่ตรึกตรองดูให้ถ่องแท้เสียก่อนเล่าทั้งที่การศึกษาก็สูง ปัญญาวิชาความรู้อันนั้นมันไปไหนกันหมด จึงมีความงมงายถึงขนาดนั้น คนมีความรู้แต่มาใช้วิชาเลวทราม มันจึงทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนกันไปหมดทั้งประเทศเพราะขาดความเป็นผู้ไม่มีศีลห้านั่นเอง แม้แต่ผัวเมียกันเอง ถ้าไม่มีศีลห้าแล้ว ก็อยู่ด้วยกันยาก ย่อมฆ่าทุบตีกันอยู่เป็นนิจ  ถ้าไม่อย่างนั้นก็ทะเลาะกัน  อยู่ไม่ขาด  ฉะนั้นจึงขอให้ผู้ที่ได้ศึกษาเรียนสูงแล้ว จงใช้วิชาความรู้อันนั้นมาวิจารณญาณดูให้ถ่องแท้ แล้วช่วยแก้ไขประเทศชาติบ้านเมืองให้ได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขบ้างเถิด

โปรดโยมมารดา

เมื่อออกพรรษาแล้วก็ได้กลับมาเยี่ยมบ้าน เพราะว่า น้องสาวเขียนจดหมายส่งไปหาว่า แม่ป่วย พอมาถึงแม่ก็ป่วยอย่างหนักเหมือนกัน แม่ได้พูดให้ฟังว่า มีผู้หญิงสี่คนได้มารับเอาไปอยู่เป็นเพื่อนเขา แต่มีเสียงเราดังออกไปเหมือนกับเสียงฟ้าร้องผู้หญิงสี่คนนั้นเลยรีบกลับ อันนี้แม่ได้พูดให้เราฟัง ตัวเราเองก็ได้เทศน์แนะนำแม่ ให้ตั้งอกตั้งใจทำความพากเพียรให้มาก เพราะอัตภาพสังขารร่างกายของเราก็เป็นอยู่อย่างนี้ และลูกก็ได้ป่วยเป็นไข้เหมือนกันแทบเอาตัวไม่รอด ได้อบรมแม่ให้ได้รับความเข้าใจในธรรม แล้วในคืนหนึ่งนั้น แม่ได้นิมิตเห็นว่า มีผู้เอาแพไม้ไผ่ห้าลำมาให้แม่นั่งไป เรือแพนั้นโดยไม่ต้องถ่อไม่ต้องพาย เรือแพไม้ไผ่นั้นก็พาขึ้นไปเหนือน้ำจนสุดขุนเขาแล้วมีทางขึ้นเขาไปจนถึงยอดเขา มีผู้บอกว่านี่แหละที่อยู่ของเจ้า แม่ก็ดูแล้วมีแต่พระเจ้าพระสงฆ์น่ากราบไหว้ เมื่อเรารู้เหตุรู้ผลอย่างนี้แล้ว เราเองก็ได้ลาแม่กลับมาหาอาจารย์ที่ อ.กุมภวาปี นี้อีกครั้ง ต่อมาอาจารย์ก็ได้พาไปที่บ้านท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

นิมิต

ที่อยู่บ้านท่าสองคอนนี้ได้นิมิตขึ้นมาวันหนึ่งในตอนเข้า หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้วก็เข้าทางเดินจงกรมได้ชั่วโมงหนึ่ง แล้วก็ขึ้นไปที่กุฏินั่งสมาธิอยู่ก็นิมิคเห็น  โยมผู้ชายคนหนึ่งเอาเครื่องบินมารับเอาไป     เขาบอกว่า ขอนิมนต์ท่านไปกับผมเพราะว่าเวลานี้สงครามเกิดขึ้นแล้วถ้าหากว่าท่านไม่ช่วยพวกผมแล้ว พวกผมต้องตายแน่ ตัวเราเองจึงตัดสินใจไปกับเขา เราเองตั้งแต่เกิดมาก็ไม่ได้ขึ้นเครื่องบินสักทีเขาก็เรียกให้ไปนั่งติดกับคนขับเครื่องบินเราก็ดูว่าเขาขับอันอย่างไร คนขับเครื่องบินนั้นเขาก็พาขึ้นไปบนเขาลูกหนึ่ง เป็นหินทั้งแท่ง ภูเขาลูกนั้นสูงจนเครื่องบิน เอาหัวจิกกับหน้าผาอยู่ เพื่อพักเอาแรง แล้วก็ขึ้นไปถึงบนยอดเขา เราก็ลงจากเครื่อง คนขับเครื่องบินนั้น เขาก็บอกว่า นี่แหละที่อยู่ของท่าน แล้วเขาก็กลับลงมา ส่วนตัวของเราก็ได้อยู่บนนั้น ก็เห็นตู้พระไตรปิฎกหลังหนึ่งอยู่บนก้อนหิน ตัวเราเองก็ได้เปิดตู้พระไตรปิฎกนั้นดูแต่ก็อ่านไม่ได้ เพราะว่าเป็นตัวขอม ที่บนนั้นมีกระต๊อบ ทางเดินจงกรม ก็เลยปิดตู้เอาไว้กับตู้พระไตรปิฎก  มีป่าไม้ชาติเท่ากับต้นขานี่ ขึ้นอยู่เรียงรายเต็มไปหมดในพื้นที่ ได้ยินเสียงครูบาอาจารย์ที่มรณะไปแล้วได้ สนทนากันอยู่ว่า มีใครบ้างที่ยังอยู่ พอตัวเรากลับลงมาประเดี๋ยวเดียวก็มาถึงเมืองเมืองหนึ่ง มีความเจริญมากแล้วก็มีหญิงคนหนึ่งมาต้อนรับเรา หญิงคนนั้นมีหน้าตาผิวพรรณสวยได้จัดให้เราขึ้นเสลี่ยงทองคำหามแห่เรารอบ เมืองนั้น… พอถึงเวลานั้นก็ได้ยินเสียงพระเณรตีระฆังกวาดตาดเราก็จึงออกมาดูนาฬิกา เป็นเวลาบ่ายสามโมงพอดี

พรรษาที่ ๒-๓  บบแก้ววิเศษ (พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๗)

อยู่บ้านท่าสองคอนนั้นประมาณสักเดือนหนึ่งก็ได้ไปที่ วัดป่ายอดแก้ว บ้านบะฮี ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จากนั้นก็เที่ยวไปเที่ยวมาอยู่วัดนี้ครั้งละเจ็ดวัน มีวันหนึ่งที่อยู่บ้านบะฮีนั้น มันเกิดความกลัวตายอาจารย์ได้ป่วยนอน เพราะว่าอาจารย์ก็พูดให้ฟังแล้วว่าอยู่บนเตียง ถูกพวกภูมิเขาปิ้นขาเตียงเอา (ปิ้นขาเตียงหมายถึง คว่ำเตียง เช่น รถพลิกคว่ำ หงายท้อง จะพูดว่ารถ  ( ปิ้นหงายท้อง ) พอเราได้ยินดังนั้นแล้ว ตัวเราก็ระมัด ระวังตัวอย่างเต็มที่ เร่งความเพียรอยู่ตลอด    มีวันหนึ่งตอนหัวค่ำหลังจากเดินจงกรมแล้วขึ้นไปบนกุฏิ  ไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้วก็เข้าสมาธิ    ก็มีเสียงดังขึ้นที่พื้นกุฏิดังอุดอิดๆ    ก็ออกจากสมาธิได้ลงมาดูก็ไม่เห็นอะไร คิดว่าคงจะเป็นเสียงหนูมากกว่า แล้วก็ขึ้นไปทำสมาธิต่อได้ไม่นาน ก็มี คิดว่าคงจะเป็นเสียงดังขึ้นที่หลังดากฏิ เสียงไม้ลากที่หลังคากุฏิ ลงมาดูที่ลานกุฏิ ก็ไม่เห็นกิ่งไม้ ตันไหนที่จะใกล้หลังคากุฏิก็ไม่มีเดือนก็หงายแจ่มแจ้งดี พอลงมาดูแล้วก็ไม่เห็น ก็เลยคิดได้ขึ้นมาดูว่า คงจะเป็นพวกภูมิกระมังหนอ ก็ขึ้นไปทำสมาธิต่อ ที่นี้เกิดขนพองสยองเกล้าขึ้นมาเต็มตัวไปหมดแล้วก็กำหนดดูว่าที่มันเกิดขึ้นมานี้ด้วยเหตุอันใดก็ได้รู้ขึ้นมาว่า มันกลัวตายแล้ว จิตมันก็น้อมเข้าไปว่าเอ๊ะ… การเกิดขึ้นมานี้แล้วใครเล่าจะไม่ตาย จะลี้ซ่อนอยู่ที่ไหนว่ามันจะไม่ตาย แล้วจิตมันก็น้อมไปหาผู้กลัวตายว่ามันอยู่ตรงไหน ผู้กลัวตายก็ดันหาลงไปตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ลงไป จนถึงมูตตังน้ำมูต กลับไปกลับมาอยู่ที่กายนี้สภาพจิตก็ไม่ไปไหน ก็เรียกจิตมีสมาธิความตั้งมั่นดีเพราะจิตมันกลัวตายอยู่ตรงไหน หาที่ไหน ก็ไม่เห็น เห็นแต่ตัวที่มันตาย ตัวที่มันตาย กลับไม่กลัว ตัวไม่ตายกลับกลัวตาย ก็คือจิตวิญญาณนั่นเอง จิตตัวนี้เองที่มันกลัวตาย ผู้ตายไม่กลัว ผู้กลัวไม่ตาย  แล้วก็เห็นนิมิตว่ารูปกายของเรานี้นอนตายอยู่ข้างหน้าห่างจากที่นั่งสมาธินั้นประมาณสองเมตร เราเองก็ได้รับการอบรมมาจากหลวงปู่ดำดีมามากแล้วพอสมควรเราก็จึงได้กำหนดลอกหนังของตัวเอง เอาหนังไปกองไว้ที่หนึ่งแล้วกำหนดปาดขึ้นเนื้อเอาไปไว้ที่หนึ่ง กำหนดปาดกระดูกไปกองไว้ที่หนึ่ง กำหนดปาดตับไตไส้พุงเอาไปกองไว้อีกที่หนึ่ง แล้วก็หมดแล้วทีนี้ แล้วก็กำหนดก่อเชิงตะกอนขึ้นมา ก็เห็นเชิงตะกอนขึ้นมา แล้วก็กำหนดเอาอวัยวะทั้งหลาย ที่ปาดกองไว้นั้นสู่เชิงตะกอน แล้วก็กำหนดเอาไฟเผา ตอนนี้กำหนดอย่างไร ไฟก็ไม่ติดก็มีตาปะขาวคนหนึ่งมาช่วยขนเอาอวัยวะต่างๆ นั้นมาใส่ครกดำพอตำไปตำมาก็เห็นเป็นขี้เถ้าไปหมด ตรงนี้ก็เห็นแต่จิตดวงเดียวที่มีแสงสว่าง อยู่ที่ตรงหัวอกนี้ใสเหมือนกับหลอดไฟลูกตูมกา (หลอดไฟกลม) นั้นอยู่ตลอดมา จะมีผู้คน จะไปจะมาก็รู้ได้หมด จะมีเหตุเกิดขึ้น แก่ตัวก็รู้ได้ตรงนี้เหตุที่จะเกิดขึ้น ก็รู้ได้ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น จะสังเกตได้ตอนเห็นนิมิต นิมิตตอนหัวค่ำนี้จะนานเป็นเดือน ถ้านิมิตในตอนเช้าก็จะเร็วขึ้นประมาณอาทิตย์และไม่เกิน ๓วัน ลักษณะบุคคลที่จะมาหานั้น ให้ดูสีเครื่องแต่งตัวของคนนั้นเขาจะทำกับเราได้ หรือไม่ได้ก็อยู่ที่นิมิตนั้น ตัวเราเองก็ได้จำพรรษาที่วัดป่าบ้านบะฮีนั้น ๒ พรรษา คือ ปี ๒๕๐๖-๒๕o๗ พออยู่ต่อมาก็ไม่รู้ว่ากี่เดือน ก็ได้เห็นนิมิตมีพระเถระองค์หนึ่งเอาแก้วมาให้ แก้วนั้นเป็นแก้ววิเศษมาก พอเราออกจากสมาธิแล้ว ก็เปิดไฟส่องดู เห็นเป็นก้อนหินอยู่ข้างนอกที่นอนก็เลยเอาขว้างทิ้งเข้าป่าไปตั้งแต่วันนั้นแหละโดยไม่รู้ว่าเป็นพระธาตุหรือไม่ แต่ที่วัดนั้นวันดีคืนดีจะมีแสงออกมาลอยเคลื่อนที่ไปมา แล้วก็ได้นิมิตเห็นเทพเจ้าองค์หนึ่งนั่งอยู่หง่าคบ (คาคบไม้หรือกิ่งไม้ที่แตกออกจากลำต้นแนวขนานกับพื้นดิน คนสามารถขึ้นไปนั่งได้) ของตันรังที่ติดกับพระเจดีย์นั้น อยู่มาวันหนึ่งได้ไปช่วยงานปั้นดินอิฐสร้างกุฏิของหลวงปู่แว่น ที่บ้านบัว ถ้ำพระสบาย อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *