ซูจีเผยกับจีนจะหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับโครงการเขื่อน “มิตส่ง”บนแม่น้ำอิรวดี ด้าน 26 องค์กรไทใหญ่ร่อนหนังสือคัดค้านโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน หลังรัฐบาล NLD ประกาศเดินหน้าสร้างเขื่อนในรัฐฉาน ….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=13691 .

received_1228549777175632สื่อพม่ารายงานว่า นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของพม่าได้ระบุกับรัฐบาลจีนในระหว่างเยือนจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ทางรัฐบาล NLD จะมองหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับทั้งสองประเทศ เกี่ยวกับโครงการเขื่อนมิตส่งบนต้นน้ำอิรวดี ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งมีมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที้งนี้มีการมองว่า โครงการเขื่อนมิตส่งเป็นประเด็นที่นางซูจีจะต้องให้ความสำคัญเพื่อแลกกับการขอให้จีนช่วยเจรจากับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศตามแนวชายแดนที่ติดกับจีน นาย Liu Zhenmin รองรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของจีนได้เปิดเผยกับสื่อว่า หลังการหารือระหว่างนางซูจี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน ทางรัฐบาลจีนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลพม่านำโดยพรรค NLD นั้นจะสามารถหาทางออกที่เหมาะสมให้กับจีนและพม่าเกี่ยวกับโครงการเขื่อนมิตส่ง รวมไปถึงทางออกผลประโยชน์การบริหารร่วมมือกันในด้านพลังงาน ตามที่นางซูจีได้กล่าวไว้ ทั้งนี้ ทางรัฐบาลจีนได้ผลักดันให้กลับมาสร้างเขื่อนมิตส่ง ซึ่งถูกยกเลิกไปในรัฐบาลของเต็งเส่ง เมื่อปี 2554 ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนราว 90 % จะถูกส่งไปให้จีนตามแผนเดิม อีกด้านหนึ่ง รัฐบาล NLD ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทบทวนโครงการเขื่อนต่าง ๆ รวมไปถึงเขื่อนหลายแห่งบนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งจะต้องรายงานผลในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตาม ระหว่างแถลงข่าวกับสื่อ นางซูจีไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องเขื่อน แต่ระบุเพียงว่า การมาเยือนของเธอนั้นจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศต่อไป โดยทั้งสองประเทศได้ลงนามที่จะสร้างสะพานในเมืองกุ๋นหลง รัฐฉาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ

ชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ใกล้กับเขตปกครองโกก้าง นอกจากนี้ ทางการจีนจะช่วยสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเมืองย่างกุ้งและในเมืองมัณฑะเลย์ อีกด้านหนึ่งระหว่างที่นางซูจีเยือนจีน ทางองค์กรภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ ทั้งในและนอกประเทศจำนวน 26 องค์กร ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนางซูจี เรียกร้องให้หยุดสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน หรือ “น่ำคง” ในภาษาไทใหญ่ หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้รัฐบาลพม่าประกาศจะเดินหน้าสร้างเขื่อนหลายแห่งบนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีบริษัทของจีนเข้ามาลงทุน แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนท้องถิ่น นางคำไหม นักเคลื่อนไหวจากองค์กร Action for Shan State Rivers กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาล NLD ทบทวนและตัดสินใจอย่างระมัดระวังในการสร้างเขื่อน เพราะมีผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่จะได้้ไฟฟ้าเพียง 10 % ในขณะที่ไฟฟ้าราว 90 % ก็จะถูกขายให้จีน ดังนั้นจึงยากที่จะกล่าวว่า ประชาชนได้ประโยชน์อะไร ในจดหมายระบุว่า จะมี 170 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 10,000 คน ที่จะได้รับผลกระทบ ทั้งการถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานและไร่นาถูกน้ำท่วมเสียหายหลังสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน นอกจากนี้ ทางองค์กรไทใหญ่ยังเตือนว่า การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินยังจะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นระหว่างกองทัพพม่าและกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อน ทั้งนี้แม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีความยาว 2,800 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านมณฑลยูนนานของจีน รัฐฉาน รัฐคะเรนนี รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญในพม่า นอกจากนี้ยังไหลผ่านที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทย เป็นแม่น้ำอีกสายที่ทุกวันนี้ยังคงไหลอย่างอิสระ ขณะที่นักเคลื่อนไหวชาวไทใหญ่รายหนึ่งเปิดเผยโดยคาดหวังว่า นางซูจีจะฟังเสียงขององค์กรภาคสังคม เนื่องจากนางซูจีเคยให้สัญญาว่าจะให้ความเท่าเทียมเสมอภาคระหว่างคนกลุ่มชาติพันธุ์และคนพม่า ดังนั้นจึงหวังว่า นางซูจีจะรักษาสัญญา เพราะทุกอย่างขณะนี้อยู่ในมือของนางซูจี                                                                                                                            ที่มา Irrawaddy/DVB แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ…..แหล่งข่าวจาก สื่อพม่ารายงานว่า นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของพม่าได้ระบุกับรัฐบาลจีนในระหว่างเยือนจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ทางรัฐบาล NLD จะมองหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับทั้งสองประเทศ เกี่ยวกับโครงการเขื่อนมิตส่งบนต้นน้ำอิรวดี ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งมีมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที้งนี้มีการมองว่า โครงการเขื่อนมิตส่งเป็นประเด็นที่นางซูจีจะต้องให้ความสำคัญเพื่อแลกกับการขอให้จีนช่วยเจรจากับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศตามแนวชายแดนที่ติดกับจีน นาย Liu Zhenmin รองรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของจีนได้เปิดเผยกับสื่อว่า หลังการหารือระหว่างนางซูจี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน ทางรัฐบาลจีนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลพม่านำโดยพรรค NLD นั้นจะสามารถหาทางออกที่เหมาะสมให้กับจีนและพม่าเกี่ยวกับโครงการเขื่อนมิตส่ง รวมไปถึงทางออกผลประโยชน์การบริหารร่วมมือกันในด้านพลังงาน ตามที่นางซูจีได้กล่าวไว้ ทั้งนี้ ทางรัฐบาลจีนได้ผลักดันให้กลับมาสร้างเขื่อนมิตส่ง ซึ่งถูกยกเลิกไปในรัฐบาลของเต็งเส่ง เมื่อปี 2554 ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนราว 90 % จะถูกส่งไปให้จีนตามแผนเดิม อีกด้านหนึ่ง รัฐบาล NLD ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทบทวนโครงการเขื่อนต่าง ๆ รวมไปถึงเขื่อนหลายแห่งบนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งจะต้องรายงานผลในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตาม ระหว่างแถลงข่าวกับสื่อ นางซูจีไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องเขื่อน แต่ระบุเพียงว่า การมาเยือนของเธอนั้นจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศต่อไป โดยทั้งสองประเทศได้ลงนามที่จะสร้างสะพานในเมืองกุ๋นหลง รัฐฉาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ใกล้กับเขตปกครองโกก้าง นอกจากนี้ ทางการจีนจะช่วยสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเมืองย่างกุ้งและในเมืองมัณฑะเลย์ อีกด้านหนึ่งระหว่างที่นางซูจีเยือนจีน ทางองค์กรภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ ทั้งในและนอกประเทศจำนวน 26 องค์กร ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนางซูจี เรียกร้องให้หยุดสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน หรือ “น่ำคง” ในภาษาไทใหญ่ หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้รัฐบาลพม่าประกาศจะเดินหน้าสร้างเขื่อนหลายแห่งบนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีบริษัทของจีนเข้ามาลงทุน แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนท้องถิ่น นางคำไหม นักเคลื่อนไหวจากองค์กร Action for Shan State Rivers กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาล NLD ทบทวนและตัดสินใจอย่างระมัดระวังในการสร้างเขื่อน เพราะมีผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่จะได้้ไฟฟ้าเพียง 10 % ในขณะที่ไฟฟ้าราว 90 % ก็จะถูกขายให้จีน ดังนั้นจึงยากที่จะกล่าวว่า ประชาชนได้ประโยชน์อะไร ในจดหมายระบุว่า จะมี 170 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 10,000 คน ที่จะได้รับผลกระทบ ทั้งการถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานและไร่นาถูกน้ำท่วมเสียหายหลังสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน นอกจากนี้ ทางองค์กรไทใหญ่ยังเตือนว่า การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินยังจะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นระหว่างกองทัพพม่าและกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อน ทั้งนี้แม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีความยาว 2,800 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านมณฑลยูนนานของจีน รัฐฉาน รัฐคะเรนนี รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญในพม่า นอกจากนี้ยังไหลผ่านที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทย เป็นแม่น้ำอีกสายที่ทุกวันนี้ยังคงไหลอย่างอิสระ ขณะที่นักเคลื่อนไหวชาวไทใหญ่รายหนึ่งเปิดเผยโดยคาดหวังว่า นางซูจีจะฟังเสียงขององค์กรภาคสังคม เนื่องจากนางซูจีเคยให้สัญญาว่าจะให้ความเท่าเทียมเสมอภาคระหว่างคนกลุ่มชาติพันธุ์และคนพม่า ดังนั้นจึงหวังว่า นางซูจีจะรักษาสัญญา เพราะทุกอย่างขณะนี้อยู่ในมือของนางซูจี                                                                                                                                      ที่มา Irrawaddy/DVB แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ

….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=13691 .
….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=13691 .

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *