!!เชียงแสน!! หมูดอยสะโง้ตายระนาว ประกาศเป็นเขตระบาดชั่วคราวของโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร เจ้าหน้าที่เร่งควบคุมพื้นที่

!!เชียงแสน!! หมูดอยสะโง้ตายระนาว  ประกาศเป็นเขตระบาดชั่วคราวของโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร  เจ้าหน้าที่เร่งควบคุมพื้นที่

สำนักงานปศุสัตว์ จ.เชียงราย รับแจ้งว่าเกิดเหตุสุกรหรือหมูดำของชาวบ้านในหมู่บ้านดอยสะโง้ ม.7 ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นที่อาศัยของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าอาศัยอยู่ โดยทางสุกรของช่วยบ้านได้ป่วยด้วยอาการซึมและตายลงไปอย่างผิดปกติเป็นจำนวนถึง 68 ตัว จากชาวบ้านผู้เลี้ยงจำนวน 8 ราย ขณะที่ในหมู่บ้านยังมีผู้เลี้ยงสุกรอีกเป็นจำนวนมาก ล่าสุดเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ตรวจซากสัตว์พบว่าได้ตายด้วยโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร (ASF) จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวชนิด ASF โดยมีแนวโน้มจะระบาดออกไปยัวพื้นที่ข้างเคียงหรือระบาดเข้าไปในพื้นที่จากการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรค จึงได้จัดการควบคุมโรคโดยห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากนั้นได้สำรวจข้อมูลจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและจำนวนสุกรจากการสำรวจพบว่าในหมู่บ้านดอยสะโง้มีผู้เลี้ยงจำนวน 33 ราย มีสุกรรวมกันทั้งหมด 198 ตัว และมีสุกรที่เป็นของชาวบ้านทั้ง 8 ราย ได้ตายรวมกันจำนวน 68 ตัวดังกล่าวจึงยังคงเหลือสุกรอีก 170 ตัว ทางปศุสัตว์ จ.เชียงราย จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินราคาสัตว์และซากสัตว์เพื่อเข้าดำเนินการกับสุกรทั้งหมดโดยแจ้งให้เกษตรกรทราบว่าการจะได้รับค่าชดเชยหลังมีการกำจัดสุกร โดยกำหนดให้มีการจดทะเบียนการเลี้ยงและสามารถระบุแหล่งที่มาของสุกรอย่างถูกต้อง หากพบว่ามีการลักลอบนําเข้าสุกรโดยไม่มีแหล่งที่มาจะไม่สามารถขอรับค่าชดใช้หลังจากทําลาย จากนั้นจะมีการให้องค์ความรู้กับชาวบ้านและร่วมกันทำความสะอาดคอกต่างๆ ก่อนกำหนดให้มีการประเมินราคาในที่ 3 ต.ค.นี้ต่อไป

ทั้งนี้ในช่วงที่มีการประกาศดังกล่าวทางด่านกักกันสัตว์เชียงรายได้มีการตั้งด่านเพื่อตรวจสอบการลักลอบหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกเขตหมู่บาน และแจ้งให้ชาวบ้านในหมู่บ้านและพื้นที่ในรัศมี 1 กิโลเมตร ได้งดเว้นการเลี้ยงสุกรหรือนำสุกรเข้ามาเลี้ยงโดยเด็ดขาด จนกว่าเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะประเมินว่าพื้นที่มีความปลอดภัยแล้วเนื่องจากเชื้อ ASF สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน ส่วนพื้นที่ในรัศมีตั้งแต่ 1–5 กิโลเมตร ให้เกษตรกรเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวดหากพบสุกรป่วยตายผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อย่างเร่งด่วน และพื้นที่อื่นๆ ในเขต อ.เชียงแสน และอำเภอข้างเคียง ให้เฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด สิ่งสำคัญคือให้ปรับปรุงฟาร์มที่มีระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์มได้ง่ายนั่นเอง.

ข่าว – ภาพจาก – กลุ่มข่าวพันธมิตรเชียงราย

บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์  /// รายงาน  ///

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *