อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ ( หลวงปู่ทวี จิตตคุตโต ) อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ ) ตอนที่ 4

อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ ( หลวงปู่ทวี จิตตคุตโต ) อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ ) ตอนที่ 4

พระธรรมเทศนา  หลวงปู่ทวี จิตุตอุตุโต ( ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ )

การบวชชีพราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว อย่าให้ขาวแต่ผ้า ข้างในก็ให้มันขาวด้วย เนื่องจากการที่เราได้รับศีลการที่เราได้รักษาศีล ศีลห้าก็ดี ศีลแปด ศีลสิบก็ดี ศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ดก็ดี รวมแล้วก็มีอยู่ สามอย่าง คือ กายวาจา ใจ ถ้าเรารักษาสามอย่างนี้ได้เรียกว่า เราเป็นผู้มีศีล การรักษากายคือไม่ให้กายไปอิจฉาพยาบาท ไม่ให้ไปเบียดเบียนบุคคลอื่น สัตว์อื่น นี่คือการรักษากาย ถ้าเรารักษาตัวนี้ได้ ก็เรียกว่าเรารักษาศีล รักษาวาจา การพูดการจาอะไรทุกสิ่งอย่าง ให้เราพูดในสิ่งที่ถูกต้อง การพูดปดพูดหลอกพูดลวง หรือใส่ร้ายป้ายสีบุคคลอื่นสัตว์อื่นทุกคน คนอื่นสัตว์อื่นที่เขาได้ยินเสียงเรา ที่เราพูดในสิ่งที่ไม่  ดีเขาก็ไม่พอใจ  ก็เหมือนเขาว่าเรานั่นแหละ  เขาใส่ร้ายป้ายสีเขาว่าเขาด่าเรานั่น เรามีความพอใจไหมล่ะทีนี้ นี่คือ  การที่เราพิจารณา โดยที่เราอนุโลมปฏิโลม คือกลับไปกลับมาถึงคนคนอื่น แล้วก็มาคิดดูตัวของเรา เราก็เสียอกเสียใจเขาก็เสียอกเสียใจ การที่เราใคร่ครวญพินิจพิจารณาในเรื่องตัวนี้แล้ว นี่คือความดีความบริสุทธิ์ของเรามันก็เกิดขึ้น ความผ่องใสของเรา มันก็เกิดขึ้น นี่ในเรื่องของการใช้วาจา จิตใจ คือ การคิด ความปรุงความแต่ง จิตมันเพ่งเล็งไปหาบุคคลอื่นสัตว์อื่น มันคิดไปแล้วนี่ มันก็ใช้ไปทางในใจ ใช้ไปทางวาจา ใช้ไปทางวาจาไม่พอ ก็ใช้ไปทางกาย ทางกายทีนี้ก็ฆ่าทุบบุบตีเข้า ผลสุดท้าย การที่เหตุของมันผลของมันในสิ่งนี้ บาปกรรมที่มันเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นที่ตัวของเรา ภัยต่างๆที่มันจะเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นจากตัวของเราเสียก่อน การที่เราทำไปต่างๆ มันก็เกิดขึ้นมาต้องให้รู้จักเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ถ้าเราเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม ทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็รู้จักแยก แยกทางทางที่เราจะเดิน ทางเดินก็มีอยู่สองแพร่ง คือทางดีและทางชั่ว ทางตี ให้ผลเป็นสุข คือการที่เราไปอย่างทางไปนอกทางที่ไม่มีเวร ไม่มีขโมย ไม่มีโจรผู้ร้าย ไปก็ปลอดภัย ทางไหน ที่มีโจรผู้ร้าย มีขโมยขโจร มีทุกสิ่งทุกอย่าง ไปมันก็ไม่ปลอดภัย นี่ก็เหมือนกัน เมื่อเรารู้เหตุรู้ผลสิ่งนี้ ถ้าหากว่าเราจะปรับปรุงตัวเอง แก้ไขตัวเอง มันก็แก้ง่าย ไม่ปลดเปลื้องตัวเอง นอกจากว่า เราจะไม่แก้ตัวเองเท่านั้นแหละ ไม่ปรับ ปรุงตัวเองเท่านั้น เหตุมันเป็นเพียงแค่นี้ ถ้าเราจะปรับปรุงตัวเอง แก้ไขตัวเองมันก็แก้ง่ายนอกจากว่าเราจะไม่แก้ตัวเอง ไม่ปลดเปลื้องตัวเองเท่านั้นหละ ไม่ปรับปรุงตัวเองเท่านั้น เหตุมันเป็นแต่เพียงแค่นี้ถ้าเราจะปรับปรุงตัวเอง แก้ไขตัวเองน่ะ มันก็ปรับปรุงได้เพราะเรารู้ช่องรู้ทางที่เราจะต้องเดิน เรียกว่า มัคคา มัคคาคือทางดำเนิน ถ้าเราไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติไม่ปรับปรุงแก้ไขตัวของเรา ใครจะมาปรับปรุง ใครจะแก้ไข ใครจะปลดเปลื้อง ครูบาอาจารย์ ท่านรัก ท่านเมตตา ท่านสงสารมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำพา ท่านก็เป็นแต่เพียงแนะนำพร่ำสอน ชี้แนะแนวทางให้เราประพฤติปฏิบัตินั่น ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติแล้วจะไปโทษใคร จะไปว่าใคร ต้องโทษตัวเอง ชี้โทษตัวเองเพราะะไรที่มันเกิดขึ้น คือตัวกิเลสตัวมานะ ตัวมิจฉาทิฏฐิ ที่มันฝังอยู่ในดวงจิตดวงใจของเรา นั่นหละ มันเป็นเหตุ พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ในอกุศลมูลห้าอกุศลมูลห้าอย่างนี่ ถ้าบุคคลใดสะสมไว้มากกอบโกยไว้มาก บุคคลนั้นต้องตกไปในทางที่ต่ำ ตกไปในทางที่ต่ำแล้วทำไง การเกิดของคนเรานั่น เกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ ไม่ใช่จะเกิดมาได้ง่ายๆ แต่เราเห็นคนเกิดมาทุกวันๆ ว่ามันเกิดง่าย มันก็มีชั้นมีเชิงนะ การเกิดของคนเราได้เกิดกับบิดามารดาผู้เป็นพรหม เรียกว่า เป็นผู้มีโชคเป็นผู้มีลาภ ถ้าเกิดกับบิดามารดาที่ไม่ดี ก็อย่างที่เรารู้เราเห็นและเราได้ยินข่าวเขาออกทีวีอยู่ทุกวันๆ พอเข้าไปได้ไม่กี่วัน เขาก็ไปบีบไปคั้นเอาออก เมื่อเราได้ยินอย่างนั้น เราก็น้อมมาดูจิตดูใจของเรา ถ้าเราได้ไปเกิดกับบุคคลเช่นนั้นนี่หละ ไม่ได้ลืมตาดูโลกเขา นี่เหตุของมันผลของมัน เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเป็นเปรต เป็นอสูรกาย ไปนรก ยิ่งความทุกข์ความยาก ความลำบาก อันนั้น ยิ่งมากกว่ามนุษย์ของเรา มีแต่ความทุกข์ คนเราทุกวันนี้ ไม่ทำบุญทำทานการกุศล ได้แต่อาศัยว่า ลูกหลานเขาจะทำให้ คิดว่าทำให้แล้วจะไปเกิดดีมีสุขนั้น พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ตรงไหน ที่จะได้รับบุญรับกุศลจากญาติ แล้วไปเกิดดีมีสุขไม่มี หลวงพ่อดันมาดูหมดแล้ว ในพระไตรปิฎก คันอยู่สามรอบสี่รอบ ไม่เห็นที่ไหน ไม่มีที่ไหน อย่างเปรตพระเจ้าพิมพิสาร ตั้งแต่พระวิปัสสี พระสีขี พระเวสภู กกุสันโท โกนาคมโน กัสสโปโคตโม เป็นองค์ที่เจ็ด พอได้รับบุญรับกุศลจากญาติ จากพระเจ้าพิมพิสารแล้วก็เป็นแต่เพียงอัตภาพสังขารร่างกาย  ของพวกเปรตพวกนั้นให้อ้วนท้วนบริบูรณ์ดี แต่เครื่องนุ่ง ห่มไม่มี จนมาครั้งที่สอง ถวายทั้งอาหารบิณฑบาต ทั้งไตรจีวร ก็เห็นว่ามีเครื่องนุ่งห่มด้วย สภาพสังขารร่างกายก็อ้วนทัวนบริบูรณ์ดี แต่ว่าไปเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้แสดง คืออายุของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั่น อย่างพวกเปรตนั่น ถ้าหากว่าอายุของเขาไม่สิ้น เขาก็อยู่อย่างนั้น จนกว่าอายุเขาจะสิ้น อายุเขาจะสิ้นแล้วเขาไปเกิดเป็นอะไร ไม่มีใครจะรู้ได้ ไม่ใช่ว่าญาติพี่น้องทำบุญอุทิศให้แล้ว ไปเกิดดีมีสุข เป็นการพูดเอาเฉยๆ พูดเอาให้มันดีใจเฉยๆ ให้พวกญาติดีใจ การบุคคลที่จะไปเกิดเป็นเทวบุตรเทวธิดา มนุษเทโวนั่นกายเป็นมนุษย์แต่จิตเป็นเทวบุตรเทวดา อย่างที่เราได้ทำกันอยู่เดี๋ยวนี้ ที่เราได้มาบวชเป็นชีพราหมณ์ เราได้สร้างบุญ สร้างกุศล อย่างที่เราได้สร้างอุโบสถหลังนี้ขึ้นมาทำให้เราได้เห็นเต็มหูเต็มตา นั่น ด้วยบุญกิริยาวัตถุอันนี้เราก็ได้รู้ได้เห็น เรียกว่าบุญกุศลที่เราทำให้เกิดให้มีขึ้นเราก็มีความดีอกดีใจ มีความปลาบปลื้มในดวงจิตดวงใจของเรา จิตใจของเรามันก็ไม่เศร้าหมอง เมื่อจิตใจของเราไม่เศร้าหมอง จิตใจของเราก็ผ่องใส นี่คือจิตของเทวบุตรเทวดา ถ้าเรารักษาจิตตัวนี้ได้ รักษาบุญกุตลส่วนนี้เอาไว้สิ้นลมหายใจไปในเวลาใดเวลาหนึ่ง ก็ไม่ต้องสงสัย มันไม่ได้เกี่ยวกับญาติที่เขาทำอุทิศให้ ไม่ได้เกี่ยว คือสิ่งที่เราทำเอาเองนั่น มันเป็นผล มันเป็นมาตรฐาน มันเหมือนกันกะว่าวันที่มีเพื่อนมีฝูงเอาของมาให้ กับของของเราที่มีอยู่ในบ้านในเรือนของเรา อะไรมันเป็นมาตรฐานกว่ากัน ให้เราเข้าใจตรงนี้ หมู่พวกเขาให้ ของชำร่วย ของอะไร กับของที่เรามีอยู่นั่น อะไรมันมาตรฐานกว่า อะไรมันเลิศประเสริฐกว่า เนี่ย การที่เราใช้ข้อคิดข้ออ่าน ข้อตรึกข้อตรอง ใช้สติใช้ปัญญาตรึกตรองในเหตุในผล นี่ให้มันละเอียด ให้มันถี่ถ้วน เราก็รู้จักช่องทางที่เราจะทำให้เกิดให้มีขึ้นในดวงจิตดวงใจ ของเรา ครูบาอาจารย์ที่ท่านรักท่านเมตตา ท่านก็เป็นเพียงผู้แนะนำพร่ำสอน ซึ่งแนะนำแนวทางให้ เท่านั้น พระพุทธเจ้าท่าน แนะบุคคลมาเป็นตัวอย่าง คนที่แนะมาเป็นตัวอย่าง คือเมืองราชคฤห์ก็ดีเมืองสาวัตถีก็ดี เมืองโกสัมภี เมืองที่มันอดมันอยากเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ ท่านก็แนะนำให้ไปเมืองที่อุดมสมบูรณ์ มีข้าวปลาอาหารอะไรทุกสิ่งทุกอย่างสมบูรณ์ แต่คนนั้นไปได้นิดหน่อยก็กลับ หรือบุคคลนั้นไปได้ครึ่งทางก็กลับ แต่อีกบุคคลหนึ่ง ไปถึงเมืองราชคฤห์นั่นน่ะได้ไปอยู่ที่นั่น มีน้ำมีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ บุคคลนั้นเขามีความสุขไหมหล่ะ เขาก็มีความสุข เพราะเขาไปให้ถึง แต่บุคคลที่ไปไม่ถึงนั่นสิ กลับแวะไปยังเมืองที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองแห้งแล้ง มันก็ได้รับความทุกข์ความยาก ความลำบาก ความอดความอยากกับบุคคลนั้นๆ ตัวอย่างที่สาวกที่บวชพร้อมกันกับพระเทวทัตหกเจ็ดองค์ ท่านเหล่านั้นก็ไปพระนิพพานกันหมด แต่พระเทวทัต ทำไมจึงถูกแผ่นดินสูบลงไปหมกไหม้อยู่ในอเวจีในโลกกันต์นรก เพราะบุคคลที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ก็ไปถึงที่ดีมีสุข แต่พระเทวทัตนี่สิ เป็นคนหัวดื้อ เรียกว่า สร้างกรรมทั้งห้าอย่างเนี่ย อกุศลมูลห้าอย่างนี่ คือความโลภหนึ่ง ความโกรธหนึ่ง ความหลงหนึ่งตัวมานะหนึ่ง ตัวมิจฉาทิฏฐิหนึ่ง นี่ ของห้าอย่างนี่ สร้างไว้เต็มเปี่ยม ความอยากก็อยากจะเป็นใหญ่ อยากเป็นพระพุทธเจ้า และขอร้องให้พระพุทธเจ้าปลดภาระที่จะครอบครองสงฆ์ ปลดภาระที่จะแนะนำพร่ำสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตัวเองอยากจะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า ตัวเองไม่ได้สร้างบารมีมาที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วจะไปปกครองสงฆ์ ตัวเองก็เป็นคนพาล แล้วจะไปปกครองพระอริยเจ้า นี่สร้างสิ่งของต่างๆ แล้วจะมาบีบบังคับให้พระเจ้าพระสงฆ์ทั้งหลาย พระอริยเจ้าทั้งหลายทำตามนโยบายของตัวเอง แต่ตัวเองไปห้ามบุคคลอื่นห้ามไม่ให้ฉันเนื้อ ฉันอะไร ไม่ให้ฉันเนื้อฉันปลา แต่ตัวเอง สำรับที่พระเจ้าอชาดศัตรูถวายวันละห้าร้อยสำรับมีทั้งดาวทั้งหวาน แต่ไปบีบบังคับคนอื่นไม่ให้ฉันเนื้อฉันปลา มังสังสิบอย่างพระตถาคตก็ทรงบัญญัติไว้แล้ว แต่เธอที่บัญญัติขึ้นมานั่นให้หาเหตุขึ้นมา ถ้าหาเหตุขึ้นมาได้ เราจะบัญญัติ เพราะคนที่กิเลสหนาปัญญาหยาบจะไปมองเห็นเหตุเห็นผลอะไร ความมืดมนอนธการอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างมันมองไม่เห็น มังสังสิบอย่างที่พระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้มันมีเหตุมันมีผล เพราะท่านรู้ท่านเห็นท่านจึงทรงบัญญัติมังสังสิบอย่างนั่น เอาไว้ให้แก่พระภิกษุ อย่างเนื้อสุนัข ถ้าพระภิกษุองค์ไหนฉันเข้าไป เมื่อไปบิณฑบาต สุนัขก็จะได้กลิ่น มันก็จะไล่กัดไล่งับเอาเนี่ย ท่านรู้เหตุ รู้ผลตัวนี้ ท่านจึงห้าม ไม่ให้ฉันเนื้อมนุษย์ พระองค์ไหนฉันเนื้อมนุษย์จะไปบิณฑบาต เขาจะใส่บาตรได้ไหม เขาก็จะวิ่งในบ้านในเรือน ปิดประตู พระก็อดตายน่ะซิ ท่านรู้เหตุ รู้ผลท่านจึงทรงบัญญัติ แต่เหตุแต่ผลของเทวทัตนั่น ไม่รู้ มีแต่ห้ามคนอื่น เนื้องู เวลาพระภิกษุไปอยู่ป่า เวลาฝนตกลงมาชะร่างกาย เหงื่อไคลไหลลง งูมันได้กลิ่น มันก็อิจฉาเอาท่านรู้เหตุของท่านท่านรู้ผลของท่าน เนื้อหมี เนื้อช้าง เนื้อเสือ เนื้อราชสีห์ เสือโคร่ง ก็เหมือนกัน ถ้าทานเข้าไป มันก็ได้กลิ่น เสือมันได้กลิ่น มันก็ไม่ไว้แล้วทีนี้ นั่นมีเหตุนั่นมีผล สิ่งที่มีเหตุมีผล คือการรู้แจ้งในทางที่เราประพฤติปฏิบัติที่เราจะงดเว้นอย่างศีลของเรา ถ้าเราจะรักษาให้ไปโดยดลอด ท่านให้มีเจตนางดเว้น พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ ตัวเจตนานั่นแหละคือตัวศีล ถึงแม้ว่าเราจะรับจากพระเจ้าพระสงฆ์ รับแล้วแต่ไม่ประพฤติปฏิบัติ มันก็ไม่มีผลอะไร มิหนำซ้ำ มันจะออกทางพูดปด ไปหลอกลวงพระ ไปรับศีลกับพระ แล้วไม่ประพฤติปฏิบัติ มัน ผิดนะ มันโกหกพระนะ แต่ที่เรามีเจตนางดเว้นตัวนั้นละเป็นตัวศีล ถ้าเราไม่มีเจตนางดเว้นทำอะไรก็ทำไป ถ้าเรามีเจตนางดเว้นจะทำอะไรก็กลัว เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เจตนางดเว้นจากการพูดปดพูดหลอกลวง ด่าว่าเสียดสีบุคคลคนอื่น เจตนางดเว้นไม่ดื่มสุราเมรัยเครื่องมึนของเมา ท่านห้าม ถ้าเราดื่มของมึนของเมาเข้าไปทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็ทำให้จิตใจของเราขุ่นมัวเศร้าหมอง แล้วทำตัวของเราให้เสียไป อีกอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านยกเป็นตัวอย่าง คือ เพื่อนของนางวิสาขานางวิสาขานี่สำเร็จโสดาบันตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ เป็นหนุ่มเป็นสาวก็มีเพื่อนคนหนึ่ง เพื่อนคนนั้นถือลัทธิอื่นนั่นละกินเหล้าเมาสุรา พอกินไปก็เอาละที่นี้ ของที่สงวนมันก็ไม่สงวน ของที่ควรละอายมันก็ไม่ละอาย เมาแล้วก็นอนตามถนนหนทาง อ้วกออกมา พวกหมาก็เลียปากเอา เมื่อเห็นกิริยามารยาทของเพื่อนอย่างนี้ มาคิดถึงตัวเอง เราได้เพื่อนที่ไม่ดีอย่างนี้ เราเองก็เป็นลูกของพระพุทธองค์ เรามาได้เพื่อนอย่างนี้ เราไม่สมควรคิดอยากจะตีตัวออกห่างก็เลยคิดได้ ขอให้มันสร่างความมึนเมานี่เสียก่อน แล้วเราจะแนะนำ ถ้าแนะนำได้เราก็จะเอาไว้เป็นเพื่อน ถ้าเราแนะนำไม่ได้ เราก็ปล่อยไปตามเรื่อง มันมึนมันเมา แล้วพาไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง เรื่องการดื่มการกินของมึนของเมา มันทำเสียตัวของที่ควรละอายก็ไม่ละอาย ของที่ควรสงวนมันก็ไม่สงวนพอท่านแสดงอย่างนั้น ผลสุดท้าย นางคนนั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เหตุได้เพื่อนที่ดี แนะนำเพื่อนให้เป็นคนดี ถึงแม้จะเป็นพาล ก็แนะนำเพื่อนให้เป็นบัณฑิต ทุกคนไม่ว่าใคร หลวงพ่อก็เหมือนกัน เป็นพาลมาเหมือนกันพอได้ยินได้ฟังธรรมะ คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ท่านแนะนำ ให้ข้อประพฤติข้อปฏิบัติ เราก็รู้เรื่องและเข้าใจ เราก็ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาในดวงจิตดวงใจของเรา เราก็เข้าใจในศีลในธรรมเนี่ย เราก็เป็นบัณฑิตขึ้นมา บัณฑิตอันนี้ มันไม่เหมือนกับที่เขาสอบในมหาวิทยาลัยนะ นั่นเขาสอบเอาแต่นี่ สอบทางจิตสอบทางใจสอบทางวิชาความรู้ที่มันเกิดขึ้นในหลักของธรรมอันแท้จริง เป็นผู้รู้ธรรม เป็นผู้เห็นธรรม คือรู้ดีรู้ชั่วนั่นแหละ ถ้ารู้ดีรู้ชั่ว เราก็รู้จักหลบรู้จักหลีก รู้จักหาช่องทางเดินของเรา ให้มันถึงจุดหมายปลายทาง ถ้าเราไม่ทำตัวของเราให้ดีแล้ว ใครจะทำ ธรรมะของหลวงปู่แหวน.. ให้เรารักเราเน้อออ.. ให้เราสงสารเราเน้อออ.. เราไม่รักเราไม่สงสารเรา แล้วใครจะรักใครจะสงสาร เราก็จับเอาธรรมข้อนี้ มาประพฤติปฏิบัติเข้าในดวงจิตดวงใจของเรา การทำดีนั่นหละเป็นการที่เรารักเรา เราสงสารตัวของเรา การทำความชั่ว เรียกว่า การอิจฉาเราเอง พยาบาทเราเอง เบียดเบียนเราเอง ไปลักไปขโมยเขา ไปฆ่าเขา ไปทำอะไรในสิ่งที่มันไม่ดีนั่นน่ะ เขาจับไปติดคุกติดตะรางก็ไปทรมานอยู่นั่นน่ะ มันทุกข์ไหมล่ะไปติดคุกติดตะราง จะไปที่ไหนก็ไม่ได้ไป จะกินจะทานอะไรก็ไม่ได้กินไม่ได้ทาน ถูกจำนองจองจำ ต่อสู้ขัดขืนเขาโทษที่มันแรงกล้า เขาก็ตัดสินประหารชีวิต ต่อสู้เขา เขาก็วิสัญญีเอา นี่คือการทำความชั่ว เรียกว่า เราอิจฉาเขาให้เราเข้าใจตามความเป็นจริง ถ้าเราเข้าใจตามความเป็นจริง เรารู้จักทำ ถ้าเราเห็นฝ่ายตรงกันข้ามมันก็ไม่รู้สักทีพระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ สิ่งของไหนมันไม่เที่ยงท่านก็ให้รู้ตามความเป็นจริง แต่เราก็ไปเห็นเป็นของเที่ยงอยู่สิ่งนั้นเป็นทุกข์เราก็เห็นเป็นสุขเสีย สิ่งนั้นเป็นธาตุเป็นอนัตตา เราก็เห็นเป็นอัตตาเสีย มันก็เลยเห็นฝ่ายตรงกันข้าม นี่จึงไม่รู้เข้าใจในธรรมไม่เห็นธรรม การที่เรารู้เห็นธรรมเข้าใจในธรรมคือรู้เห็นตามความเป็นจริงตามที่พระองค์ ท่านแนะนำไว้ ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงท่านก็ให้มาพิจารณาในอัตภาพสังขารร่างกายนั่น ท่านเทศนาแนะนำพร่ำสอนสาวกสาวิกา อุบาสกอุบาสิกา ท่านไม่เน้นไปอะไรมาก ท่านเน้นไปที่รูปร่างกาย แม้ท่านจะโปรดปัญจวัคดีเป็นครั้งแรก ก็ชี้ลงในอัตภาพสังขารร่างกายนี่แหละความไม่เที่ยงเป็นยังไง ความเป็นทุกข์เป็นยังไง ความเป็นอนัดตาเป็นยังไง มันก็ชี้อยู่ในกายนี่แม้แต่พระที่บวชหรือสามเณรที่บวช ท่านก็สอนเรื่องของกายนี่ ปัญจกรรมฐาน เกษา โลมา นขา ทันตา ตะโจตะโจ ทันตา นขา โลมา เกษา แต่ถ้าจะว่าไปจนถึงมูตตังน้ำมูตนั่น มันก็ยาวเกินไป เวลามันก็ไม่พอ เพราะมันถึงหนังแล้ว หนังมันหุ้มห่ออาการสามสิบสองนี่ ท่านเปรียบเหมือนกะว่า กระสอบปุ๊ยใส่ขี้วัวขี้ควาย ขี้เป็ดขี้ไก่ พอแบกไป ฝนตกชะกระสอบปุ๋ยลงอาบร่างกายมันก็ทำให้เกิดมีกลิ่นขึ้นมา อันนี้ก็เหมือนกัน อัตภาพสังขาร ร่างกายของเรา ที่เราทานลงไปแต่ละวันๆ มันเป็นป่าช้าของสัตว์พวกหมูพวกวัวพวกควาย พวกเป็ดพวกไก่พวกปูพวกปลา อะไรๆ ทุกสิ่งทุกอย่าง เอาไปกองไว้ในป่าช้าน้อยนั่นเวลาทำงานเหนื่อยๆ ขึ้นมา เหงื่อก็ไหล กลิ่นมันก็ออกมามันเป็นอย่างนั้นเนี่ย ท่านจึงให้พิจารณาในอัตภาพสังขารร่างกาย ที่มันเป็นของปฏิกูล ของลามก ของสกปรกเพราะสิ่งที่เราทานเข้าไปนั่นหละ มันเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐาน แล้วก็ทำให้เกิดโรค โรคต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้นจากอาหารที่เราทานลงไปนั่นหละ โรคผม โรคขน โรคเล็บ โรคฟัน โรงหนัง โรคกระดูก รวมแล้วคือโรคในอาการสามสิบสองจนถึงมูตตังน้ำมูต เมื่อโรคต่างๆที่มันเกิดขึ้น มันเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ให้เราเองถามตัวเอง หลวงพ่อถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็รู้อยู่คนเดียว

ตัวหลวงปู่ หลวงปู่รู้ โรคที่มันเกิดในตัวหลวงปู่ หลวง  ปู่ก็เป็นทุกข์ เพราะอะไร เพราะมันมีเหตุมีฐานที่จะให้เกิด ถ้าไม่มีฐานให้มันเกิด อะไรจะมาเกิดล่ะ เราพิจารณา ไปถึงพระนิพพาน ถ้าไม่มีโรค ความทุกข์มันก็ไม่มี ความไม่เที่ยงมันก็ไม่มี ความเป็นอนัตตามันก็ไม่มี ถ้ามันมี มันก็มีอยู่นี่ละ…

////////////////////////////////////////////////////

…เราพิจารณาจากปัญจกรรมฐาน เห็นความไม่เที่ยง   เห็นความเป็นทุกข์ พิจารณาความเป็นธาตุ เป็นอนัตตาก็ได้ พิจารณาสังขารเป็นปฏิกูล  เป็นของโสโครกก็ได้มันลงในอาการ ๓๒ เหมือนกันหมด… ธรรมเทศน าของหลวงพ่อทวีในงานสวดพระอภิธรรมหลวงปู่ท่อน ญาณธโร ณ วัดครีมภัยวัน อ.เลย

///////////////////////////////////////

คาถาป้องกันภัยต่างๆ ของหลวงปู่ทวี จิตุตคุตฺโต

อัคโค พุทโธ    เชฏโฐ พุทโธ   วิเสฏโฐ พุทโธ

 อุต ตะโม พุทโธ   ปะวะโร พุทโธ   อะ สะ โม พุทโธ

 อะ สะ มะ สะ โม พุทโธ   อัป ปะ ติ สะ โม พุทโธ

 อัป ปะ ติ ภาโค พุทโธ   อัป ปะ ติ  ปุค ละ โล  พุทโธ ฯ

สวดเป็นประจำ ป้องกันภัยต่างๆ  สวดเวลาเดินทาง  สวดเวลาเจ็บป่วย  สวดเวลามีภัยธรรมชาติ  สวดขึ้นศาลคดีความสวดเมื่อตกใจจากเหตุการณ์ต่างๆ  ท่องให้ขึ้นใจ ให้จำได้ คาถาจึงจะใช้ได้ดี

//////////////////////////////////

ภาษิตคำเตือน ของผู้มีวัสมิมานะอยู่ในตัว

•    เราอย่าไปถือว่าเราดีคนเดียว คนอื่นเขาก็ดี มีอยู่  •  เราอย่าไปถือว่าเราบริสุทธิ์คนเดียว คนอื่นเขาก็บริสุทธิ์ มีอยู่

•  เราอย่าไปถือว่าเรามีจิตใจคนเดียว คนอื่นเขาก็มี  จิตใจเหมือนกัน • เราอย่าไปถือว่าเรามีสติปัญญาคนเดียว คนอื่นเขา  ก็มีสติปัญญาอยู่เหมือนกัน • เราอย่าไปถือว่าเรารู้เราเห็นคนเดียว คนอื่นเขาก็รู้  ก็เห็น มีอยู่  •ไม้ล้ม คนเราข้ามไปได้ แต่คนล้ม คนอื่นอย่ามองข้าม

//////////////////////////////////// 

กิจวัตรบิณฑบาตของพระวัดป่าอรัญญวิเวก

 กิจวัตรช่วงบ่าย  ๓  โมงของหลวงพ่อทวี และพระสงฆ์วัดป่าอรัญญวิเวก  ซึ่งถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด  งานกฐินสามัคคีประจำปี  ๒๕๕๘-๒๕๖๐ งานอายุวัฒนะมงคลครบรอบ ๗๘ ปี ( ๕๗ พรรษา ) ของหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต ศิษยานุศิษย์ทุกทิศทุกทาง ต่างพากัน.มาจัดงานสรงน้ำ และ ขอพร ขอธรรมะ จากหลวงพ่อ เป็นประจำทุกปี ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ตรงกับ วันที่ ๘ และ ๙ เมษายน

พิธีมอบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี งานพระราชทานวิสุงคามสีมา ( ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖) ณ. วัดไร่พิงพระจารามหลวง จังหวัดนครปฐมกิจนิมนต์ไปนมัสการสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในต่างประเทศ สิ่งก่อสร้างภายในวัดป่าอรัญญวิเวก

บ้านป่าลัน ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย พระอุโบสถฉลิงพระเกิบรติ ๘๘ พรรพา พระชาสมเต็งพระเจ้าปู่หัว (รัชกาลที่ ๙ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๖)

สิ่งก่อสร้างภายในวัดป่าอรัญญวิเวก กุฏิหลวงพ่อ น้ำตกในบริวณวัด แม่เพชร กับ แม่ติ๋ม ๒ คนนี้

ที่นิมนต์หลวงบ่อมาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าลัน เสนาสนะ สำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมภายในวัดป่าอรัญญวิเวก

อาคารหอฉัน อาคารหอประชุมธรรมสภา “พระมหาธาตุเฉดีย์ ๙ มงคลเหนือสุดสยาม” วัดป่าอรัญญวิเวก

หมู่ ๕ บ้านป่าลัน ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง ง.เชียงราย เส้นทางการเดินทางไป วัดป่าอรัญญวิเวก

ขอขอบคุณ คุณบัญชา ทิพย์อักษร ผู้ถอดบันทึกเทปและเรียบเรียงคำ 

อัตชีวประวัติ หลวงปู่ทวี จิตฺตคฺตฺโต  พิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทาน ห้ามจำหน่าย

เรื่อง  อัตชีวประวัติ หลวงปู่ทวี จิตฺตคฺตฺโต วัดป่าลัน ม.5 บ.ป่าลัน ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

บรรณาธิการอำนวยการ    คุณศรีสมร กสิวัฒน์ โหราเรือง

  ปกและเล่ม                 คุณศรีสมร กสิวัฒน์ โหราเรือง

ผู้ตรวจอักษร               คุณกรุณา อินทร์พันธ์

พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557  พิมพ์ครั้งที่ 12  พ.ศ. 2562  จำนวนการพิมพ์  2,500 เล่ม

พิมพ์ที่   ห้างหุ้นส่วนจำกัด  64  การพิมพ์  116 ซอยพระยามนธาตุ แยก 35-3 แขวงบางบอน กทม. โทร-02-177310

ผู้ที่มีศรัทธา และมีความประสงค์ ต้องการรับหนังสือ อัตชีวประวัติ  หลวงปู่ทวี จิตฺตคฺตฺโต  ติดต่อที่ วัดอรัญญวิเวก  ม.5 บ.ป่าลัน ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

ขอสงวนสิทธิ์  ห้ามบุคคลใดนำโครงเรื่องหรือข้อความในหนังสือเล่มนี้ ไปพิมพ์เผยแพร่เพื่อการค้าเด็ดขาด แต่ถ้าคัดลอกหรือนำไปพิมพ์เผยแพร่แจกจ่ายแก่ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรในธรรม คณะผู้จัดพิมพ์ขออนุโมทนาบุญด้วย….

หมายเหตุ…  การจัดพิมพ์ลงในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก และได้นำมาลงในฐานข้อมูลเว็บไซต์ ในปี พ.ศ. 2567  ซึ่งได้คัดลอกมาจากการตีพิมพ์ต้นฉบับ เพื่อเป็นการเผยแพร่เป็นธรรมทานในแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ใน อัตชีวประวัติ  พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ  ( หลวงปู่ทวี จิตฺตคฺตฺโต )  เจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ( ธรรมยุต ) บ.ป่าลัน ต.ปงน้อง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ )

ผู้จัดทำพิมพ์ลงในระบบลงในฐานข้อมูลเว็บไซต์  นายณฐพัชร์ อภิโชคกุล  หัวหน้าสำนักข่าวเบาะแสภาคเหนือ  ( บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์ )

ผู้ตรวจอักษร     นายเอนก    แก้วตาติ๊บ   ทีมข่าวแม่สายนิวส์ออนไลน์ 

ขอนอบน้อมด้วยแรงศรัทธาในการจัดทำพิมพ์ ลงในระบบลงในฐานข้อมูลเว็บไซต์  เพื่อเป็นการเผยแพร่เป็นธรรมทานในแก่ผู้ปฏิบัติธรรม…

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *