อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ ( หลวงปู่ทวี จิตตคุตโต ) อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ ) ตอนที่ 3

อัตชีวประวัติ พระเดชพระคุณพระราชวชิราธิการ ( หลวงปู่ทวี จิตตคุตโต ) อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๓ ( พ.ศ. ๒๕๖๗ ) ตอนที่ 3

เส้นทางการเดินไปวัดป่าอรัญญวิเวก ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

สิ้นร่มโพธิ์แก้ว…ดั่งนกไร้รัง

จนถึงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ในตอนเช้า เราเองก็ได้ให้หมู่คณะได้ไปฉันข้าวเสียก่อน แล้วเราจึงได้ไปเรียกหลวงปู่ขึ้นมาดูว่า ท่านจะรู้สึกตัวได้ไหม เมื่อเราเรียกท่านแล้ว ท่านก็ได้ลืมตาขึ้นมาดูเรา เราเองได้พูดกับหลวงปู่ว่า “หลวงปู่ หลวงปู่เอย..หลวงปู่ไม่ต้องเป็นห่วงพระลูกพระหลานดอกนะ พระลูกพระหลานหาเลี้ยงตัวเองอยู่ ที่หลวงปู่ได้มาปฏิบัติธรรมนี้ ก็เพื่อความพ้นจากทุกข์สิ่งใดที่หลวงปู่ได้รู้แล้วได้เห็นแล้ว ซึ่งความสุขของหลวงปู่นั้น แล้วแต่หลวงปู่จะเห็นสมควรก็สุดแท้แล้วแต่หลวงปู่เพราะโรคที่หลวงปู่เป็นอยู่นี้ พระลูกพระหลานก็ไม่สามารถที่จะเอาออกให้ได้ดอกนะ เพราะว่าร่างกายของหลวงปู่นี้ไม่ยอมรับเอายา เอาอาหารเสียแล้ว” เมื่อหลวงปู่ท่านได้รู้แล้วอย่างนี้ ท่านก็ได้เงือกหัวให้เรา (ผงกหัวให้เรา…เป็นการรับรู้) แล้วก็สงบนิ่งไป

จนถึงเวลา ๒๑.๕ต น. วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ นั่นเอง

การมรณภาพของหลวงปู่แหวน ก็ได้ทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา และพระบรมราชินีนาถ เหมือนกับว่าดินฟ้าถล่มไปทั้งเมืองไทยในหลวงก็ได้พระราชทาน โกศหลวงและรดน้ำอาบศพ ที่สถานพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นก็ได้มีบุคคลทุกทิศานุทิศ ได้ไปเคารพศพของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นครั้งสุดท้าย แล้วก็ได้นำศพของหลวงปูแหวน มาตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยแม่ปั๋งตามเดิม สิริอายุหลวงปู่แหวนได้ ๙๙ ปี ในหลวงท่านขออายุหลวงปู่ให้ได้ ๑๒๐ ปี แต่หลวงปู่ก็พูดกับในหลวงว่า เอาเพียง ๙๙ ปี ก็พอเถอะมันลำบากผู้อยู่แล้วก็ได้ ๙๙ ปีตาม ที่ว่าไว้จริง อันนี้คือพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาแท้จริง ขอให้พวกเราทุกๆคนจงนำเอาเป็นตัวอย่างของหลวงปู่แหวนนี้ ไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป ศาสนาของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป ในข้างหน้า

ผลของกรรม

ในพรรษาปีนั้น เราเองก็ได้สังเกตการณ์ดูเขาอยู่ตลอด ที่นี้อ้ายบาปไม่แพ้บุญ ในเดือนพฤศจิกายน ฝนก็ได้ตกลงมาอย่างแรง หลวงพ่อหนูก็ได้ขึ้นไปที่กฏิสามฤดูเอาใบไม้ออกจากรางริน ก็ไม่มีใครรู้ รู้แต่ลูกหลาน หลวงพ่อหนูที่อยู่ชั้นล่างนั้น เพราะว่ากุญแจล็อค จนกว่าหลวงพ่อหนูฟื้นขึ้นมาคนเดียว ในตอนเช้าพากันตื่นนอนแล้วพระเณรทุกๆองค์พากันไปบิณฑบาต เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วจึงได้รู้ว่า หลวงพ่อหนูได้ตกจากบันไดกุฏิของท่าน เมื่อเราฉันเสร็จก็ได้ไปดูท่าน ที่ไหนได้ ดูหน้าตาดำคล้ำไปหมด เราเองก็ได้บอกให้ลูกหลานเขารีบนำส่งโรงพยาบาลเสียคงจะไม่ไหวแล้วแน่ ลูกหลานคนใดก็ไม่มีใครหัวกับนับซาเลย (ไม่สนใจ หรือไม่ใส่ใจ) เขามีแต่จะปล่อยให้ตายไปเลยกระมัง เราเองก็ได้มาสำนึกดูตัวเราเองว่า เราเป็นลูกหลานบัณฑิตนักปราชญ์ เราไม่ควรจะโกรธจะเกลียดต่อเขาเลย เราลองดูว่า บุคคลนี้จะรู้จักบุญคุณของเราไหม ถ้าเขารู้ก็เรียกว่ากรรมของเราเองพระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ว่า “คนพาลถึงแม้ว่าเราจะยกทรัพย์ให้เขาทั้งแผ่นดิน เขาก็ไม่รู้จักบุญคุณของผู้ให้ แต่ผู้เป็นบัณฑิตแล้ว ผู้ให้ของเพียงนิดเดียว ก็รู้จักบุญคุณของ

ผู้ให้” มีบุคคลคนหนึ่ง มาถามปัญหากับเราเองว่า บุคคลที่เขาทำกรรมชั่วอยู่นั้น ทำไมเขาจึงไม่ได้รับกรรมชั่วบุคคลที่ทำกรรมดีก็ไม่เห็นได้กรรมดีตอบรับ เราเองก็ตอบรับกับเขาไปว่า ให้คุณไปลักขโมยเขาดูซิ หรือว่าไปฆ่าเขาดูซิ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ตามจับคุณๆ เองก็ต้องอยู่ไม่เป็นสุขนับตั้งแต่คุณได้ลงมือทำไปแล้ว บุคคลนั้นก็ปิดปากเงียบนี่แหละคือ คนพาล ถึงแม้ผลกรรมชั่วมันก็ให้ผลอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่าผลกรรมมันให้ผล เห็นกรรมชั่วเหมือนกับว่า น้ำอ้อยน้ำตาล เขาจึงทำกันอยู่

อำลาดอยแม่ปั๋ง

ในวันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคมนั้น เราเองได้พูดกับพระที่เป็นหมู่พวกเดียวกันว่าผมเองอยากจะออกไปเที่ยวหาวิเวก ไปตามสถานที่ต่างๆ คงจะสบายดีกว่าอยู่ที่วัดดอยนี้เยอะทีเดียว ถ้าขืนอยู่นี่ต่อไปเราอาจได้รับอันตราย พระนิพพานเราเองก็ยังไม่ได้ไปถึง การประชุมกันเรื่องพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่แหวน ก็ไม่มีผลอะไรเลยใครจะอยู่ใครจะไปก็แล้วแต่ใคร ผมเองก็จะขอลาหมู่พวกไปก่อนเถอะ ก็มีหมู่พวกได้เสนอตัวมาว่าจะตามไปด้วยกัน ๕ องค์ด้วยกันคือ ๑.พระอาจารย์นาค อตฺถวโร ๒.พระอาจารย์ทวี จิตุตคุตฺโต ๓.พระไสว วงฺสวโร ๔.พระสังวาลสุธีโร ๕.พระสามดง จนฺทโชโต ทั้ง ๕ องค์นี้ได้ออกจากวัดดอยแม่ปั๋ง วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๘ ได้พากันเดินไปตามขุนห้วยแม่ปั๋ง ตอนออกจากวัดดอยแม่ปั๋ง ก็มีเณรตามมาส่งบาตร ๓-๔ องค์ด้วยกัน ได้มาพักอยู่ที่ป่าเมี่ยงขุนปิ้ง ๑ เดือน แล้วก็พักที่ป่าเมี่ยงดอยม่อนพระ ๑ เดือนและพักที่วัดหลวงราชแม่กระจาน ๑ อาทิตย์ ขณะที่พักอยู่ที่วัดหลวงราชแม่กระจานนี้ก็ได้มีตำรวจ อำเภอพร้าวคนหนึ่ง ได้เข้าไปหาเราที่กุฏิ เขาก็ได้พูดกับเราว่า ในวันที่ที่มีเณรมาส่ง พระอาจารย์ออกมาจากวัดดอยแม่ปั๋งนั้นท่านอาจารย์กลับไปแล้ว ก็มีพระหลวงตาอมรนั้น เตะเณรจนไปฟื้นที่โรงพยาบาลอำเภอพร้าวตำรวจก็จับไป แล้วหมู่ของเขาก็ได้ไปประกันออกมา แล้วก็ส่งกันหนี เดี๋ยวนี้วัดดอยแม่ปั๋งดุเดือดมาก ออกจากแม่กระจานมาพักอยู่ที่วัดรัตนวราราม พะเยา ประมาณ ๑ อาทิตย์ แล้วพระอาจารย์ทองสุก ได้เอารถพระอาจารย์ไพบูลย์ มาส่งที่ วัดดอยน้ำตก บ้านใหม่พัฒนา กิ่ง อ.เวียงเชียงรุ้ง นี้ประมาณ ๑ เดือน

วัดป่าอรัญญวิเวก  ( บ. ป่าลัน อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ) พรรษา ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๒๙-ปัจจุบัน )

แล้วก็ได้มาพักอยู่ที่วัดป่าอรัญญวิเวก ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ ตั้งแต่วันนั้นเป็นตันมาตราบเท่าทุกวันนี้ที่ได้มาอยู่ที่วัดป่าอรัญญวิเวกนี้ ก็เพราะมีนางติ๋มและแม่เพ็ชร ได้ไปหาที่โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ตอนที่หลวงปู่กำลังป่วยอยู่นั้น นางติ๋มได้ถามกับเราว่า “หลวงพ่อคะ เมื่อหลวงปู่มรณภาพแล้ว หลวงพ่อจะไปอยู่ที่ไหนล่ะ”เราก็ตอบไปว่า ไปไม่มีตำบลข้องคา อยู่ที่ไหนก็อยู่ที่นั่นแหละ” นางติ๋มก็บอกว่า “ถ้าอย่างนั้นก็ขอนิมนต์หลวงพ่อจงไปที่บ้านของติ๋มเสียก่อน แล้วจึงไปที่อื่น เพราะว่าที่วัดของติ๋มนั้นมีหลวงตาอยู่องค์เดียว ท่านไม่มีหมู่อยู่ด้วย”ในเรื่องนี้เราเองก็ได้ถามหมู่พวกดูว่า ที่หมู่พวกได้เคยไปเที่ยวมานั้น ที่ไหน พอเป็นที่วิเวกปฏิบัติดีอยู่บ้าง หมู่พวกก็บอกว่าที่บ้านป่าลันนั้นดีมาก ถ้าท่านอาจารย์ไปพัฒนาให้ดีขึ้นมา จะสะดวกดีทุกอย่าง เราเองก็ได้พิจารณาดูตามนิมิตนั้นคงจะเป็นสถานที่นี้กระมังหนอตามนิมิตนั้นก็อยากจะไปดู เมื่อมาดูสถานที่แล้วก็มีนิมิตต่างๆ เกิดขึ้นบางครั้งหลวงปู่แหวนก็ได้ลงมาจากชั้นสุทธาวาสมาหาปอยครั้ง บางครั้งก็เห็นว่า เรานี้ได้ทำฌาปนกิจครูบาอาจารย์ถึง ๔ ครั้ง ในสถานที่นี้ บางครั้งก็เห็นเพศฝ่ายตรงกันข้ามได้รู้ธรรมเห็นธรรมไปตามเรามีอยู่ประมาณสิบกว่าคน มีผู้ชายเพียง ๒ คน

พระอริยเจ้าแห่งภาคเหนือ

เราเองก็มีความสำนึกอยู่ในจิตใจของเราอยู่ครั้งหนึ่งว่า ในครั้งที่หลวงปูแหวนท่านพูดให้ฟังครั้งหนึ่ง ในตอนที่นั่งคุยกันอยู่ตอนหัวค่ำประมาณหกโมงเย็น มีหลวงปู่แหวน หลวงพ่อหนู และเรา หลวงปู่ท่านพูดขึ้นมาว่า”หลวงปู่มั่น ท่านพูดว่า… ท่านแหวนๆ ต่อไปในอนาคตข้างหน้านี้จะมีพระองค์หนึ่ง จะมาประกาศพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง ต่อจากเรานี้ไป… นี้คือคำพูดของหลวงปู่มั่นที่อยู่บ้านทุ่งบวกข้าว” หลวงปูมั่นท่านว่า “พระองค์นั้นมีรูปร่างเล็ก ๆ ดูกิริยาอาการภายนอกแล้วไม่น่าเลื่อมใส แต่ว่าภายในนั้นโดดเด่นมาก ยาก…ผู้ที่เขาคนอื่นจะรู้ได้ตามพระองค์นั้น เขาจะขึ้นไปอยู่เหนือสุดของประเทศ..” ก็ไม่รู้ว่าเป็นใครผู้เขียนได้จำมาจากหลวงปู่แหวนท่านพูดสุดท้าย ชีวประวัติของหลวงพ่อทวีนี้ บางสิ่งบางอย่างก็มีความรุนแรงจนเกินไป แต่ก็ทำอย่างไรได้ เพราะเรื่องของคนอื่นเขามาเป็นกับเราอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเราพูดไม่มีเหตุผล เรื่องที่มันเกิดขึ้นแต่ละครั้งเราก็รู้นี่มันชีวประวัติของเราที่จะต้องเจอมาทั้งดีและชั่วของครูบาอาจารย์แต่ละ ท่านแต่ละองค์ก็ไม่เหมือนกัน

ธรรมโอวาทหลวงพ่อทวี จิตุตคุตฺโต

…เราไม่ได้เอาที่ไหนมาพูด เอามาจากหลักความจริงที่เรารู้เราเห็นขึ้นมาในหัวจิตหัวใจของเราจริงๆนะ สิ่ง

ที่เรารู้เห็น เราเคยปฏิบัติมาอย่างไร ที่เราไปกลั่นไปกรองจริงเท็จอย่างไร เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับในพระไตรปิฎก

มันก็ไปด้วยกันหลักที่เราเดินมาตามหลักของพระพุทธเจ้าเป็นหลักความจริงในอาการสามสิบสอง นี่พระพุทธเจ้าสอน

สาวกสาวิกาก็เป็นหลักตัวนี้ พุทโธ พุทโธ นี่อาตมาเอามาวิจัยดูแล้ว คือพุทโธนี่เป็นปลายยอด เราไม่ดูตอนตัน

จะมียอดต้องมีโคนต้นก่อน นี่เราจะไปเอายอดมันเลยไม่ดูโคนต้นมันก่อน พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ตัดความละ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัวมานะ ตัวมิจฉาทิฏฐิของท่านออกจากจิตจากใจพุทโธ จึงเกิดขึ้นมาทีหลัง มันจึงรู้ว่าทำอย่างนี้เป็นบาปกรรม นี่คือพุทโธ มันเกิดขึ้นมาแล้ว พุทโธคือผู้รู้ พุทโธคือผู้ตื่น พุทโธคือผู้เบิกบาน มันอยู่ปลายยอดอยู่แล้วคนที่ปฏิบัติที่แรกก็พิจารณาอาการสามสิบสองเสียก่อนไม่ต้องไปคำนึงถึงพุทโธ ต้องพิจารณาอาการสามสิบสามให้รู้จักบาปรู้จักความดีความชั่ว พุทโธจะเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่พูดมันก็จะเกิดขึ้นมา รู้ว่าทำอย่างนี้ชั่ว นี่พุทโธมันเกิดขึ้นแล้ว นี่มันตัวปลายตัวผล ถ้าเราจะไปเอาพุทโธก่อน อะไรๆ ก็พุทโธ นี่มันงมกันอยู่ เราจะกินผลมันก่อนได้ยังไง เราไม่ปฏิบัติ ต้นมันเลย จะเอาอะไรมากิน เราต้องเอาอาการสามสิบสองมาก่อน กรรมฐานห้าที่อุปัชฌาย์ท่านบวชก็เอามาจากอาการสามสิบสองคือ ถ้าท่านจะเอาหมดไปจนถึงมุตตัง น้ำมูตรมันจะกินเวลาเพราะว่าหนังนี่มันหุ้มห่ออยู่แล้ว หุ้มห่อในอาการสามสิบสอง เราพิจารณาจากปัญจกรรมฐานเห็นความไม่เที่ยงเห็นความเป็นทุกข์เป็นธาตุ มันก็หลงในอาการสามสิบสองมันเหมือนกันหมดความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ก็เหมือนกันหมด ที่ท่านให้พิจารณาลงไปถึงมุตตังน้ำมูตรเพราะอะไร เพราะว่าจิตของคนเรามันยังไม่เป็นสมาธิ พอทำสมาธิจิตใจ มันออกไปแล้ว เที่ยวตามบ้านตามเมืองตามต่างจังหวัด บางที่ออกนอกประเทศ โน่น นี่ ท่านจึงให้มันเที่ยวอยู่ในนี้ ในอาการสามสิบสองนี้ เราพิจารณาความไม่เที่ยงก็ได้ พิจารณาความเป็นทุกข์ก็ได้ พิจารณาความเป็นธาตุเป็นอนัตตาที่ได้ พิจารณาถึงสังขารร่างกายว่าเป็นของปฏิกูล เป็นของโสโครกก็ใต้ ไม่ให้จิตออกจากกายให้อยู่ในกายนี้ให้ต่อเนื่องไปเลย ให้เป็นอนุโลมปฏิโลม จะจับตัวไหนขึ้นมาก่อนก็ได้แต่บางคนก็ไปทำสมาธิก่อน มันเกิดสงบมันก็เลยติดสมาธิ มันไม่พิจารณาที่หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าเป็นสมาธิหัวต่อ    จิตมันสงบอยู่อย่างนั้น  ก็นึกว่าตัวเองสำเร็จแล้ว นี่มันมีแต่สมัยพุทธกาล  คือพระภิกษุที่ไปเรียนกรรมฐานมาจากพระพุทธเจ้า  ก็เอาไปประพฤติปฏิบัติเกิดจิตสงบสบายไม่พิจารณาก็นึกว่า  ตัวเองสำเร็จแล้ว ก็จะไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรู้แล้ว  ก็ให้พระอานนท์ไปดักรอพระภิกษุเหล่านั้น    บอกให้ไปที่ป่าช้าเสียก่อนสมัยครั้งพุทธกาล คนตายเขาเอาผ้าพันแล้ว เอาไปทิ้งเลย เป็นป่าช้าผีดิบ คนที่ไม่มีผ้าก็ไปเอามา บางทีพระภิกษุก็ไปซักเอาผ้ามาทำจีวรนุ่งห่ม ศพก็เหลือแต่ตัวล่อนจ้อน พอไปเห็นเข้ากิเลสที่มันนอนอยู่มันก็ฝืดขึ้นมาก็เลยรู้ว่ากิเลสยังไม่หมด…ปัญญามันเห็นจริงเห็นความลุ่มหลง…….

การก่อตั้งวัดป่าอรัญญวิเวก

เดิม วัดป่าอรัญญวิเวก จัดตั้งครั้งแรกเป็น สำนักสงฆ์วัดป่าอรัญญวิเวก เมื่อหลวงปู่ทวี จิตุตคุตฺโต ได้มาจำพรรษา ณ ที่นี้ จึงประสงค์จะขอตั้งเป็นวัด ซึ่งหลวงปู่ทวีได้อนุญาตให้ คุณพิสิษฐ์ ภูพันนา เป็นผู้ไปดำเนินการขอตั้งเป็นวัดแต่เนื่องจากที่ตั้งของวัดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงใช้ระยะเวลานาน ต่อมาเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้เรียบร้อยแล้ว สำนักพุทธศาสนาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้สร้างวัดได้ และได้รับการอนุมัติเป็น “วัดป่าอรัญญวิเวก” เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๙๙ โดยมีการแต่งตั้ง หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕

การเดินทางสักการะสังเวชนียสถาน  ( ประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล )

ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ถึง วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลวงพ่อทวี จิตุตคุตฺโต เดินทางจาก วัดป่าอรัญญวิเวกเข้ากรุงเทพฯ ด้วยรถตู้ของวัดเอง ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ เข้าที่พักที่ อาจารย์ ดร.จุรี ได้จัดเตรียมไว้ให้ย่านสุขุมวิท และวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕ ๔ หลวงพ่อทวี กับคณะผู้ร่วมเดินทาง ได้เดินทางออกจากประเทศไทย โดยสายการบินคิงส์ฟิชเซอร์ไปยังประเทศอินเดีย ในระหว่างที่อยู่ประเทศอินเดียและประเทศเนปาล หลวงปู่ทวีได้ไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มีอาทิ “สวนลุมพินี” ( สถานที่ประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ) “พุทธคยา” (สถานที่ตรัสรู้ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) “เมืองกุสินารา” (สถานที่ปรินิพพาน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) “พระมูลคันขกุฎี” (สถานที่ประทับ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) “เสาขัณทีสถูป” (สถานที่พระพุทธองค์ทรงพบพระปัญจวัดดีย์ครั้งแรก “ธัมเมกขสถูป” ( สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมครั้งแรกให้กับพระปัญจวัคคีย์ ) “วัดเชตะวัน มหาวิหาร”

(สถานที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่นานที่สุด และเป็นบริเวณที่พระองค์ทรงแสดงธรรมสอนพุทธสาวก)

“วัดมหาวัน” ( สถานที่ซึ่งพระเจ้าน้า คือ พระนางปซาบดีโคตมีขอบวชเป็นภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา )

“แม่น้ำคงคา” โดยหลวงพ่อทวี พร้อมคณะได้ลงเรือชมสภาพแวดล้อมริมฝั่งของแม่น้ำคงคา และได้สวดมนต์อุทิศส่วนกุศล ให้กับศพที่เผาทิ้งลงแม่น้ำคงคาซึ่งหลวงพ่อทวีกับคณะผู้ร่วมเดินทาง ได้เดินทางกลับ

สู่ประเทศไทยในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๙๔ คณะผู้ร่วมเดินทาง ในครั้งนี้ประกอบด้วย ๑.หลวงพ่อทวี จิตุตคุตุโต เจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ๒.พระอาจารย์สุขเลิศ กนฺตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านเหล่า ๓.พระมหาสุวิทย์กุสโล  ๔.รศ.ดร.จุรี ตาปนานนท์ ๕.อาจารย์ พิมพ์พร หวังดี ๖.คุณกมล งานละม่อม ๗.คุณประเกียรณ์ศรี โพธิทัต ๘.พ่อหวด คงเดช ( การเดินทางในครั้งนี้คุณสมหวัง รัตนารามิก เป็นผู้จัดหาทัวร์ บริษัท ชามาทัวร์ จำกัด และร่วมทำบุญ ในการเดินทางของหลวงพ่อทวี ครั้งนี้ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท )

สิ่งก่อสร้าง ภายในวัดป่าอรัญญวิเวก ( วัดป่าลัน ) ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย

นับตั้งแต่ พรรษาที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๒๙) จนถึงพรรษาปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๒) รวมเป็นเวลา ๓๓ ปี ( พรรษารวม๕๔ พรรษา ) หลวงพ่อทวี จิตุตคุตฺโต ได้พัฒนาวัดป่าอรัญญูวิเวก และทำการก่อสร้างเสนาสนะอื่นๆ ที่จำเป็นของสงฆ์ รวมทั้ง สถานที่ปฏิบัติธรรมของอุบาสก-อุบาสิกา ปีละเล็กละน้อย มาเรื่อยๆ ตามกำลังของท่าน ดังนี้ ๑. ศาลาอเนกประสงค์หลังเก่า ก่อสร้างด้วย คอนกรีต เสริมเหล็กชั้นเดียว ขนาดความกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ความยาว ๑๘ เมตร เริ่มทำการก่อสร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ รวมระยะเวลา ก่อสร้างประมาณ ๑ ปี ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๖๕๐,๐๐๐ บาท ( หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน ) โดยไม่มีค่าจ้างแรงงาน เนื่องด้วยชาวบ้านป่าลัน มีศรัทธา ช่วยกันก่อสร้างร่วมกับพระอาจารย์ไสว ( ซึ่งเป็นลูกหลาน หลวงปู่แหวน ) ท่านสามและท่านสังวาลย์ชาวคณะจากวัด ดอยแม่ปัง มาช่วยก่อสร้างด้วย จนแล้วเสร็จ ในปัจจุบันศาลาฯ หลังนี้ ได้ทำการรื้อถอนและได้ก่อสร้างพระอุโบสถ ขึ้นแทน ( วันที่ ๑๒กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ) ในปีเดียวกันนี้ ยังได้ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ภายในวัดป่าลันจำนวน ๓ ถัง ราคาถังละ๑๐,๑๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๓๐,๓๐๐ บาท (สามหมื่นสามร้อยบาทถ้วน) ๒. กุฏิหลวงพ่อหลังแรก ( ตั้งอยู่บริเวณต้นไทรใหญ่บนเชิงเขาด้านทิศเหนือไม่ไกลจากโรงครัวปัจจุบัน ) เป็นกุฏิไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง ขนาดความกว้าง ๔.๕0 เมตร ความยาว ๗ เมตร กุฏิหลังนี้สร้างเสร็จไม่นาน หลวงพ่อทวีก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ปัจจุบันให้พระสงฆ์ภายในวัดใช้เป็นที่พัก-ปฏิบัติภาวนา๓. กุฏิหลวงพ่อทวี หลังที่ ๒ (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ใกล้บันไดทางขึ้นกุฏิหลวงพ่อทูล) เป็นอาคารครึ่งตึก ครึ่งไม้ ขนาดความกว้าง ๖.๕- เมตร ความยาว ๗.๕๐ เมตร ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๒ แสนเศษ ก่อสร้างด้วยช่างชาวบ้านป่าลัน โดยหลวงพ่อทวี เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเองจนแล้วเสร็จ ปัจจุบันให้พระสงฆ์ภายในวัด ใช้เป็นที่พัก-ปฏิบัติภาวนา ๔. กุฏิหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต หลังปัจจุบัน ตั้งก่อสร้างด้วยคอนกรีต อยู่บริเวณใจกลางของวัดป่าลันเสริม เหล็กชั้นเดียว ได้ถุนสูงขนาดความกว้าง ๘.๕๐ เมตรความยาว เมตร ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน ๒๕๔๕ ค่าก่อสร้าง ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) โดยหลวงพ่อทวี ได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเอง จนแล้วเสร็จ (บ้านเลขที่ ๑๓๙ หมู่ที่ ๙ ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย)สาเหตุที่หลวงปู่ทวี ต้องมาสร้างกฏิหลังใหม่นี้ เนื่องจากในขณะที่หลวงพ่อทวี ได้พักอยู่ที่กฏิหลังที่ ๒ มักจะมีอาการเจ็บป่วยอยู่เนื่อง ๆ เหตุที่หลวงพ่อทวีเจ็บป่วย ซึ่งทราบในเวลาต่อมาว่า ได้รับแก๊สที่เกิดจากการผุพัง-ทับถม ของใบไม้ในธารน้ำซึ่งไหลมาจากน้ำตกตรงเชิงเขาในบริเวณวัดจำนวนมากเป็นเวลานาน หลวงพ่อทวีจึงมาสร้างกุฏิหลังปัจจุบันโดยหลังจากที่ท่านได้เปลี่ยนมาพักที่กุฏิหลังปัจจุบันนี้อาการเจ็บป่วยต่างๆ ของหลวงพ่อทวี ก็ได้หายเป็นปกติต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ได้ทำการต่อเติมโถงระเบียงเพิ่มเติมเพื่อความสะดวก สำหรับลูกศิษย์ลูกหาในการเข้ากราบนมัสการ หลวงพ่อทวีก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดความกว้าง ๕.๕- เมตร ความยาว ๖ เมตรค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท ( สองแสนบาทถ้วน ) ด้วยศรัทธาของ คุณอรรถวรรณ รุ่นประพันธ์ ๕. สระน้ำในวัดป่าอรัญญวิเวกบริเวณใกล้โรงครัวเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ดำเนินการขุดสระตามโครงการความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น (มิยาซาวา) เพื่อกักเก็บน้ำไว้สำหรับใช้ อุปโภค-บริโภค ภายในวัดป่าลัน ในปัจจุบันมีปลาชนิดต่างๆ มากมาย และหลวงพ่อทวีได้ทำการติดตั้งเครื่องตีน้ำเพื่อเดิมออกซิเจนป้องกันน้ำเสีย จำนวนเครื่อง ๖.โรงครัว ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของวัดป่าลัน ใกล้ประตูทางเข้าวัดป่าลัน (ประตู ๑) ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ขนาดความกว้าง ๒0 เมตรความยาว ๒๑ เมตร ภายในตัวอาคารมีห้องพัก-เก็บของจำนวน ๔ ห้อง ห้องน้ำ-สุขา รวม ๔ ห้องและห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องครัว ๑ ห้อง บริเวณที่เหลือเป็นโถงใหญ่สำหรับทำการประกอบอาหารถวายพระภิกษุ และสามเณรค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๗๕๐,๔๐๘ บาท ด้วยศรัทธาของ รศ.ดร.จุรี ตาปนานนท์ และหมู่คณะ การก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ รวมทั้งได้ก่อสร้างถังเก็บน้ำสำหรับใช้ในโรงครัว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕๐ เมตรความสูง ๓.๕๐ เมตร จำนวน ๓ ถัง ๗. อาคารที่พักผู้ปฏิบัติธรรม (กุฏิยาว) ตั้งอยู่ใกล้ประดูทางขึ้นพระมหาธาตุเจดีย์ฯ (ประตู ๒)ก่อสร้างด้วยตอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นเดียวยกพื้นสูง ๗อเซนติเมตร จาดินเดิม ขนาดกว้าง ๕.๕- เมตร ความยาว ๑๘ เมตรประกอบด้วย ห้องพักใหญ่ ๑ ห้อง ห้องพักเล็ก ๑ ห้องและห้องน้ำ-สุขา ๒ ห้อง ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๕๐๐,๐๐๐ บาท(ห้าแสนบาทถ้วน) ด้วยศรัทธาของ คุณอาทิตย์ วังวสุพร้อมด้วยญาติ ก่อสร้างแล้วเสร็จ วันที่ ๑๒ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๔๗ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ด้วยหลวงพ่อทวีเอง โดยใช้ช่างชาวบ้านป่าลันเป็นผู้ก่อสร้าง ๘. ศาลาเอนกประสงค์หลังใหญ่ ปัจจุบันใช้เป็นหอฉัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดป่าลันด้านขวามือทางขึ้นพระมหาธาตุเจดีย์ฯ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว หลังดามุงกระเบื้องซีแพคโมเนีย สาเหตุที่หลวงพ่อทวีต้องสร้างศาลาฯ หลังใหญ่นี้ เพราะว่าศาลาฯหลังเก่ามีขนาดเล็กคับแคบไม่สะดวก สำหรับประกอบศาสนกิจต่างๆ ศาลาหลังใหญ่ มีขนาดความกว้าง ๑๖ เมตรความยาว ๒๓.๕๐ เมตร ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ๑,๐๐๐,๐๐- บาท (หนึ่งล้านหกแสนบาทถ้วน) ด้วยศรัทขาของรองศาสตราจารย์ ดร.จุรี ตาปนานนท์ และคณะลูกศิษย์ของหลวงพ่อทวี ในคราวเดียวกันนี้ รศ.ตร.จุรี ได้ถวายพระประธาน ในศาลาฯ ให้องค์หลวงปู่ทวีด้วย โดยหลวงพ่อทวีได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่เศียรพระพุทธรูปเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔ยศาลาหลังนี้ หลวงพ่อทวีออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเองจนแล้วเสร็จโดยใช้ช่างชาวบ้านป่าลันเป็นผู้ก่อ สร้างในปีเดียวกันนี้ หลวงพ่อทวี ยังได้สร้างถังเก็บน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๗๐ เมตร ความสูง ๓.๓๐ เมตรจำนวน ๓ ถัง พร้อมกับก่อสร้างห้องน้ำ-สุขา สำหรับ ฆราวาส จำนวน ๔ ห้อง และโรงเรือนล้างบาตรพระสงฆ์ ( ที่ล้างบาตร ) ขนาดความกว้าง ๔ เมตร ความยาว ๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง ๙. ห้องน้ำ-สุขา สำหรับฆราวาส ๙.๑ บริเวณที่ตั้งอยู่ด้านซ้ายมือของกุฏิยาว จำนวน ๒ แถวๆ ละ ๑๐ ห้อง รวม ๒๐ ห้อง โดยหลวงพ่อทูลขิปฺปปญฺโญ เป็นผู้ออกค่าก่อสร้างในครั้งที่ หลวงพ่อทูลได้จัดงานบวชชีพราหมณ์ที่วัดป่าลัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาปฏิบัติธรรม ๙.๒ บริเวณที่ตั้งอยู่ใกล้กับที่ตั้งโรงทานของวัดป่าลันจำนวน ๙ ห้อง โดยหลวงพ่อทวี ได้สร้างเพื่ออำนวยความสะดวกกับญาติโยมและผู้มาปฏิบัติธรรมสงฆ์ภายในวัดป่าลันใช้พัก-ปฏิบัติภาวนาแต่ละ ๑๐. กุฏิพระสงฆ์ ภายในบริเวณวัดป่าลัน สำหรับ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ใช้ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๑๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ บาท แต่ปัจจุบัน ราคาหลังละประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๑๑. กุฏิผู้มาปฏิบัติธรรม เป็นหลังเดี่ยว ภายในบริเวณวัดป่าลันมีทั้งหมดรวม ๑๒ หลัง โดยค่าก่อสร้างแต่ละหลังขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ใช้สอยและวัสดุที่ใช้ประมาณหลังละ ๑๕,๐๐๐-๑๕๐,๐๐๐ บาท ด้วยศรัทธาขอลูกศิษย์และญาติธรรมของหลวงพ่อทวี ๑๒.โรงฉันน้ำปานะ ตั้งอยู่ด้านหลังกุฏิหลวงพ่อทวีปัจจุบัน ขนาดความกว้าง ๘ เมตร ความยาว ๑๐ เมตรประกอบด้วย ห้องโถงใหญ่ ๑ ห้อง และห้องเก็บของ1 ห้อง ก่อสร้างไว้สำหรับพระภิกษุสงฆ์พักผ่อน ฉันน้ำปานะ และสนทนาธรรมเดิมถนนภายในวัดป่าลัน จะเป็นถนนลูกรัง หลวงพ่อทวีมี ๑๓. ถนน คสล. ภายในวัดป่าอรัญญวิเวก แต่ความเห็นว่า เมื่อฝนตก พื้นถนนจะลื่นและเฉอะแฉะมากเมื่อชาวบ้านนำอาหารใส่รถเข็น เข็นจากโรงครัวมาที่ศาลาหอฉัน มักจะมีปัญหาข้าวของตกหล่น และลื่นหกล้มบ่อยๆหลวงพ่อทวี จึงเห็นควรสร้างเป็น ถนนคอนกรีตภายในวัดป่าลันทั้งหมดโดยทยอยก่อสร้างไปเรื่อยๆ จนแล้วเสร็จด้วยศรัทธาของ รศ.ดร.จุรี ตาปนานนท์ ที่จะทำบุญมาคราวละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท หลายครั้งร่วมกับศรัทธาของชาวบ้านป่าลัน และคณะศิษย์บางส่วนสมทบกัน ๑๔. ถนน คสล. ทางเข้าวัดป้าอรัญญวิเวก ตั้งแต่บริเวณสระน้ำสาธารณะของหมู่บ้านป่าลัน จนมาบรรจบประตูสิงห์คู่ (ประตู ๒) ทางขึ้นพระมหาธาตุเจดีย์ฯ ด้วยงบประมาณของ อบต.ปงน้อย ซึ่งทาง อบต.ได้ออกแบบโดยใช้ไม่ไผ่แทนเหล็กตะแกรงแล้วเทคอนกรีต ซึ่งหลวงพ่อทวีเกรงว่าถนนจะไม่มีความคงทน เพราะใช้ไม่ไผ่ จึงได้จัดซื้อเหล็กตะแกรงให้กับ อบต. ไปดำเนินการก่อสร้างต่อไป ๑๕. พระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคล เหนือสุดสยามแต่เดิมสภาพดินฟ้าอากาศ ภายในวัดป่าลัน เมื่อเข้าหน้าฝนมักจะมีพายุลมแรง ฝนฟ้าคะนอง ลมพายุพัดต้นไม้ใหญ่หักโค่นล้มอยู่บ่อย ๆ ทำให้องค์เทพเทวาที่อาศัยอยู่ ณ.ต้นไม่ใหญ่เหล่านั้นเดือดร้อน โดยหลวงพ่อทวีได้นิมิตว่าเพื่อ เทวดามาร้องขอให้หลวงพ่อทวีก่อสร้างพระเจดีย์เทวดาจะได้มีที่อาศัยและเมื่อครั้งหลวงพ่อทวีเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ระหว่างเดินทางอยู่บนเครื่องบิน ท่านได้เห็นพระเจดีย์สีทองลอยขึ้นมาหยุดอยู่เหนือก้อนเมฆ ต่อมาเมื่อคุณภิญโญ เทียนประภาสิทธิ์ ได้เข้ากราบนมัสการหลวงพ่อทวี และกราบเรียนว่าได้ฝันเห็นหลวงพ่อทวีก่อสร้างพระเจดีย์ มีขนาดใหญ่และสวยงามมาก หลวงปู่ทวี จึงบอกให้คุณภิญโญไปเก็บภาพพระเจดีย์ต่างๆ มาให้ท่านดูแต่ไม่ปรากฏว่ามีเจดีย์องค์ใดเหมือน ตามที่หลวงพ่อทวี ได้เห็นในครั้งนั้น หลวงพ่อทวีจึงให้คุณภิญโญร่างรูปทรงแบบเจดีย์ ตามที่คุณภิญโญได้ฝันเห็นออกมาให้ท่านดู ปรากฏว่ามีลักษณะเหมือนกับองค์ที่ท่านได้เห็นระหว่างเดินทางบนเครื่องบิน หลวงพ่อทวีจึงตกลงใจสร้างพระเจดีย์ตามแบบดังกล่าว และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี แต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชด้วย โดยให้คุณภิญโญ เทียนประภาสิทธิ์ และคุณธนาภรณ์รามางกูร เป็นสถาปนิกผู้ร่างแบบและเขียนแบบองค์พระเจดีย์ เมื่อหลวงพ่อทวี ได้แบบก่อสร้างมาแล้วท่านนำไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ คิดราคาค่าก่อสร้าง โดยช่างตีราคาไว้ที่๓ ล้านบาท แต่หลวงพ่อทวี เห็นว่าช่างได้คิดราคาสูงจากความเป็นจริงมาก และด้วยเงินที่จำกัด ท่านจึงเห็นควรจ้างช่างชาวบ้านป่าลัน มาทำการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ และหลวงพ่อทวีจะควบคุมดูแลการก่อสร้างด้วยตัวของท่านเอง หลวงพ่อทวีได้เลือกบริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ของวัดป่าลัน และใช้รถแม็คโฮขุดถากปรับแต่งพื้นที่ไหล่เขา เริ่มก่อสร้างพระเจดีย์ โดยวางศิลาฤกษ์ปรับพื้นที่ เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งหลวงพ่อทวีเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และเรียนเชิญ สจ. วิทยา ภูกองไชย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในระหว่างการก่อสร้างพระเจดีย์ เมื่อหมดเงินค่าก่อ สร้างครั้งใด หลวงพ่อทวีจะแจ้งให้ช่างหยุดการก่อสร้างชั่วคราว เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเช้าที่ แต่ด้วยอาจจะเป็นสาเหตุให้เทวดาเดือดร้อน จึงดลใจให้มีผู้ศรัทธาโอนเงินทำบุญเข้าบัญชีหลวงพ่อทวี วันรุ่งขึ้นเมื่อท่านทราบว่ามีเงินเข้าบัญชีมาแล้ว ท่านก็สั่งให้ช่างนำเครื่องมือมาทำการก่อสร้างต่อทันที เป็นอย่างนี้อยู่หลายครั้งจนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จจนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ใช้เวลา๑๗ เดือนเท่านั้นลักษณะของพระเจดีย์ ประกอบด้วย พระเจดีย์องค์ใหญ่ ทรงระฆังคว่ำ ๑ องค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางฐานกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๙ เมตร ล้อมรอบด้วย พระเจดีย์องค์เล็กทรงระฆังคว่ำ ๘ องค์ แต่ละองค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางฐานกว้าง ๒ เมตร สูง ๙ เมตร พระเจดีย์ทุกองค์ทาด้วยสีเหลืองทองทั้งหมด ในการนี้ หลวงพ่อทวีได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุไว้ภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ทั้งที่เสด็จมาเองในกุฏิของท่าน จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ รวมกับมีผู้ศรัทธานำมาสมทบเพิ่ม ได้บรรจุไว้รวมกันนับประมาณกว่าแสนองค์ พร้อมกับได้ให้ช่างวาดรูปพุทธประวัติ และพระเจ้าสิบชาติ ไว้บนผนังด้านในของพระเจดีย์องค์ใหญ่ อีกทั้งได้บรรจุสิ่งของมีค่าต่างๆ ไว้ภายในด้วย และต่อมาหลวงพ่อทวีได้ ให้ช่างก่ออิฐถือปูนปิดทางเข้าไว้ เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีนำสิ่งมีค่าเหล่านี้ไปเป็นสมบัติส่วนตัวบริเวณฐาน พระเจดีย์ทั้ง ๙ องค์ ปูด้วยหินแกรนิตตามซุ้มพระเจดีย์ โดยรอบได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ลูกศิษย์ได้นำมาถวายหลวงพ่อทวี สานรอบองค์ พระเจดีย์เทคอนกรีตเสริมเหล็ก ( ปัจจุบันได้ปรับปรุงปูบล็อกตัวหนอนรอบลานพระเจดีย์ซึ่ง คุณจุฑารัตน์ นาม เทียร และคณะฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหมด )บริเวณด้านข้างขององค์พระเจดีย์ มีระเบียงวิหารคต ขนาดความกว้าง ๓.๕- เมตร ความยาว ๖๒ เมตร  หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนีย ผนังด้านในวิหารตดวาดรูปพุทธประวัติ และพระเจ้าสิบชาติ ภาพวาดเหล่าเหมือนกับภาพในพระเจดีย์องค์ใหญ่ สำหรับทางขึ้นพระเจดีย์ หลวงพ่อทวี ได้จ้างช่างนิคมมาปั้นพญานาด ๒ตัว พร้อมดอกบัวสี่เหล่า ซ้าย-ขวา ด้วยค่าก่อสร้างตัวละ๑๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)งบประมาณค่าก่อสร้างพระเจดีย์ฯ ทั้งสิ้น ๖, ๒๙๖, ๕๗๑บาท (หกล้านสองแสนเก้าหมื่นหกพันห้าร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทถ้วน)โดยหลวงพ่อทวี ได้กำหนดชื่อองค์พระเจดีนี่ตามที่ได้นิมิตว่า “พระมหาธาตุเจดีย์ ๙ มงคล เหนือสุดสยาม” และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี จึงอัญเชิญตราสัญลักษณ์ ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช๒๕๔๙ ประดับบนพระมหาธาตุเจดีย์ฯการจัดงานฉลองพระเจดีย์ฯ เมื่อวันที่ ๒ ๙พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐โดยมีหลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปญฺโญ ( วัดใหม่บ้านตาล ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ กับพระเถระอีกหลายรูป เช่น หลวงพ่อเปลี่ยน ปฺณฺญาโปที่โป ฯลฯ และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย คุณปรีชา กมลบุตรเป็นประธานกล่าวเปิดงาน นายสันติ สันทัด นายอำเภอดอยหลวงขณะนั้นเป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งหลวงพ่อทวี ได้ปลูกตันโพธิ์ไว้เป็นที่ระลึก ๑ ตัน และผู้ว่าฯ ๑ ตัน ตันโพธิ์ทั้ง ๒ ตันนี้ ปลูกอยู่บริเวณลานจอดรถด้านขวามือ ก่อนขึ้นพระมหาธาตุเจดีย์ฯ อนึ่ง ภายหลังที่ได้ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ฯ เสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ลมพายุฟ้าคะนองที่เคยมี ก็เบาบางลงมาก จนแทบไม่เกิดขึ้นอีกเลย ภายในบริเวณวัดป่าลันปัจจุบันนี้ ยังคงมีพระธาตุฯเสด็จเข้าไปในพระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่เรื่อยๆ ( ทุกๆ วันพระ๘ ค่ำ และวันพระ ๑๕ ค่ำ ) ๑๖. อาคารปฏิบัติธรรม อุบาสก-อุบาสิกา (คอนโดใหม่) ตั้งอยู่ใกล้กับ ศาลาเอนกประสงค์หลังใหญ่(หอฉัน) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น มีดาดฟ้าขนาดความกว้าง ๑๒ เมตร ความยาว ๒๐ เมตร รวมทั้งหมด๒๐ ห้อง ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๒,๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสองแสนบาทถ้วน โดยหลวงพ่อทวี ได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวท่านเอง จนแล้วเสร็จประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๕๔ ในปีเดียวกันนี้ ได้ก่อสร้างห้องน้ำ-ห้องสุขา สำหรับฆราวาส บริเวณด้านหลังคอนโดใหม่ จำนวน ๒๐ ห้อง๑๗. บ่อบาดาล หลวงพ่อทวีได้เล็งเห็นว่า เมื่อเข้าหน้าแล้งของทุก ๆ ปี และทางวัดป่าลันมีงานด้านศาสนกิจต่างๆ จะมีคณะศิษย์ กับชาวบ้านป่าลัน มาร่วมทำบุญจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคภายในวัดป่าลันมีไม่เพียงพอ หลวงพ่อทวี จึงตกลงใจขุดเจาะบ่อบาดาล ด้วยงบประมาณ ๑๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) จำนวน ๑ บ่อ ซึ่งจะอยู่บริเวณลานจอดรถ ด้านขวามือทางขึ้นพระมหาธาตุเจดีย์ฯ ในขณะเดียวกัน ได้ก่อสร้างถังน้ำเพื่อกักเก็บน้ำ ที่ปั้มสูบขึ้นมาจากบ่อบาดาลไว้ใช้ภายในวัดป่าลัน จำนวน ๑๒ ถัง แต่ละถังมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๗๐ เมตร ความสูง ๔.๕๐ เมตร ๑๘. กุฏิพระเถระ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น มีดาดฟ้า ‘ขนาดความกว้าง ๘.๕๐ เมตร ความยาว ๑๒ เมตร จำนวน ๔ ห้อง โดยแต่ละห้อง มีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตรและมีห้องน้ำจำนวน ๒ ห้อง ค่าก่อสร้างรวม ๑,๖๐๐,๐๐๐บาทด้วยศรัทธาของ อาจารย์ ดร. จุรี ตาปนานนท์ กับคณะศิษย์หลวงพ่อทวี และใช้ช่างชาวบ้านป่าลันทำการก่อสร้าง ซึ่งหลวงพ่อทวี ได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และต่อมาหลวงพ่อทวีได้สร้างกุฏิพระเถระผู้ใหญ่เพิ่มอีก ๑ หลังบนดอย ด้วยศรัทธาของคณะศิษยานุศิษย์ (ปี ๒๕๕๗) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๒ ชั้น มีระเบียงจงกรมโดยรอบอาคารหลังนี้ ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารกุฏิหลังแรก ๑๙. การซื้อที่ธรณีสงฆ์เพิ่ม แต่เดิมวัดป่าลัน มี เนื้อที่ ๑๕ ไร่ ในปี พ.ศ.๒ ๕๔๙ หลวงพ่อทวีได้ซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก ๙ ไร่ พร้อมกับได้ล้อมรั้วลวดหนามไว้ ปัจจุบันวัดป่าลันมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๔ ไร่หลวงพ่อทวี ได้ทำการปรับปรุงซุ้มประตูทางเข้าหน้าวัดป่าลัน (ประดู ๑) และส่วนบริเวณหน้า สิงห์ ๒ ตัว ซ้าย-ขวา ไว้หน้าประตูทางขึ้นพระมหาธาตุเจดีย์ฯ (ประตู ๒) ได้ตั้งสิงห์ ๒ ด้วยซ้าย-ขวา ไว้เช่นกัน ๒๐. อุโบสถ โบสถ์ หรืออุโบสถ ได้สร้างขึ้นแทนศาลาเอนกประสงค์หลังเก่า เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดความกว้าง ๑๒ เมตร ความยาว ๒๔ เมตร บานประตูและบานหน้าต่างใช้ไม้มะค่าทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนียสีเขียว พื้นภายในโบสถ์ใช้หินขัดและชานระเบียง โดยรอบใช้ทรายล้าง สำหรับกำแพงแก้วเป็นสแตนเลส วิศวกรผู้ออกแบบก่อสร้างชื่อ คุณธนากร เคนทรภักดิ์ การก่อสร้างโบสถ์ เริ่มปรับพื้นที่และวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ ใช้ช่างบ้านป่าลัน และช่างบ้านเหล่า สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๙เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น เป็นเงิน๑๐,๓๔๔,๖๙๒.๖๖ บาท (สิบล้านสามแสนเก้าหมื่นเก้าพันหกร้อยเก้าสิบสองบาทหกสิบหกสตางค์) โดยหลวงพ่อตั้งซื่อโบสถ์หลังนี้ว่า “พระอุโบสถเฉลิมพระเกียรติ ๘๕ พรรษา “๒๑. ยานพาหนะ ของวัดป่าลัน มีจำนวน ๓ คัน ๑ ) รถปิคอัพ อีซูชุ ๔ ประตู สีฟ้า หมายเลขทะเบียน นข 2789 เชียงราย ๒ ) รถตู้โตโยต้า สีบรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียนนข 4681 เชียงราย๓ ) รถเก๋งโตโยต้า คัมรี่ สีดำ หมายเลขทะเบียน กน 9833 เชียงราย ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ ได้รวบรวมเงินซื้อถวายหลวงพ่อ ( รถคันนี้หลวงปู่ทวี ใช้ประจำเมื่อมีกิจนิมนต์ ) ๒ ๒. อาคารหอประชุมธรรมสภา ใช้เวลาเริ่มก่อสร้างวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ แล้วเสร็จเมื่อวันที่๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ งบก่อสร้าง ๖,๕๔๓,๔๒๓ บาท (หกล้านห้าแสนสี่หมื่นสามพันสี่ร้อยยี่สิบสามบาทถ้วน)พ่อทวีท่านมีดำริให้จ้างงานชาวบ้านสร้างขึ้นด้วยปัจจัยที่ ๒๓. กำแพงปูนเสาหัวบัว รอบบริเวณวัด หลวงได้จากการทอดกฐินสามัคคีในปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ ๒๔. กุฏิปลอดเชื้อของ หลวงพ่อทวี จิตุตคุตฺโต  เริ่มก่อสร้าง วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ หลวงพ่อมีอาการอาพาธอันเกิดจากอากาศในบริเวณวัดและเสนาสนะมีความชื้นสูง ประกอบกับธาตุสังขารอายุหลวงพ่อสูงพรรษาขึ้น ภายหลังจากหลวงพ่อได้รับการตรวจรักษาอย่างละเอียดจากคณะแพทย์พยาบาลที่โรงพยาบาลเชียงรายประชาราษฎร์แล้ว ศิษย์จึงได้ดำริสร้างกุฏิถวายหลวงพ่อขึ้นอีกหลังบนพื้นที่ตรงกลางลานต้นมะค่าโมงใกล้สระบ่อน้ำ ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบเหมาะสมวัย หลวงพ่อ เช่น ทางลาด ห้องน้ำ เก้าอี้วีลแชร์ หลวงพ่อรวบรวมปัจจัยที่คณะศิษยานุศิษย์ถวายและเริ่มก่อสร้างรวมระยะเวลา จนแล้วเสร็จเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒  ใช้งบก่อสร้างและตกแต่งทั้งสิ้น ๓,๕๗๙,๓๙๗ บาท ( สามล้านห้าแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันสามร้อยเก้าสิบเจ็ดบาทถ้วน) และนิมนต์หลวงพ่อเข้าพักจนถึงปัจจุบันนี้  ตลอดระยะเวลากว่า ๓๑ ปี ที่ป่าลัน หลวงปู่ทวีจิตฺตคุตฺโต ได้พัฒนาและก่อสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป อีกทั้งยังเมตตาอบรมสั่ง

สอนศิษยานุศิษย์ ให้รู้จักรักตัวเอง ละความชั่ว ทำแต่ความดี หมั่นสวดมนต์ ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ภาวนาเพื่อจะได้หลุดพันจากการเวียนว่ายตายเกิดวันสำคัญของหลวงปู่ทวี จิตฺตคุตฺโต ที่ศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันมาแสดงมุทิตาจิต ตักบาตร ร่วมสรงน้ำฉลองอายุวัฒนะมงคลของหลวงปู่ทวี คือ วันที่ 8-9 เมษายน ของทุกๆ ปี (จำนวนวันที่จัดงาน หลวงพ่อทวี เป็นผู้พิจารณา ตรงกับวันที่ ๘ และ ๙ เมษายน ของทุกปี ) สำหรับปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ท่านมีอายุครบ ๘๓ ปี ๖๒พรรษา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *